การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยและเชื้อราสาเหตุโรครากอ้อยกับความสามารถการไว้ตอ
#1
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยและเชื้อราสาเหตุโรครากอ้อยกับความสามารถในการไว้ตอ
อิสระ พุทธสิมมา, มนตรี เอี่ยมวิมังสา และปราณี วรเนตรสุดาทิพย์

          สาเหตุโรคอ้อย ที่มีผลต่อความเสียหายในการไว้ตออ้อย ทำการทดลองที่แปลงเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น และศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ระยะเวลาตั้งแต่ตุลาคม 2548 – กันยายน 2551 โดยการสำรวจชนิด ปริมาณ และความเสียหายจากไส้เดือนฝอยศัตรูพืชและเชื้อราสาเหตุโรคอ้อย ในอ้อยตอจังหวัดขอนแก่น พบไส้เดือนฝอยศัตรูอ้อย 4 ชนิดได้แก่ Helicotylenchus sp. Hoplolaimus sp. Pratylenchus sp. และ Tylenchorhynchus sp. แต่ที่สำคัญมี 2 ชนิดได้แก่ Pratylenchus sp. และ Tylenchorhynchus sp. มีความแตกต่างตามสภาพภูมินิเวศน์ คือ 1)ในเขตภูมิอากาศในภูมิอากาศฝน 1,000 - 1,200 มม. Pratylenchus sp. ไม่พบในชุดดินจอมพระและมหาสารคาม เมื่อเดือนมิถุนายน และ กรกฎาคม 2549 และ Tylenchorhynchus sp.พบมากที่สุดเมื่อเดือนมิถุนายน 2549 ในชุดดินจอมพระ 1,910 ตัว รองลงมาในชุดดินมหาสารคาม 1,620 ตัว ในเดือนกรกฎาคม 2549 ส่วน 2) ในเขตภูมิอากาศในภูมิอากาศฝน 1,200 - 1,400 มม. Pratylenchus sp. พบมากที่สุดในเดือนมิถุนายนในชุดดินด่านขุนทด และ Tylenchorhynchus sp. พบมากที่สุด ในชุดดินบ้านไผ่ เมื่อเดือนมิถุนายน และสรุปได้ว่าไส้เดือนฝอยที่ทำให้ผลผลิตลดลงมากที่สุดคือ Tylenchorhynchus sp. ที่ทำให้ต้นอ้อยแคระแกรน ผลผลิตน้อยกว่าอ้อยปกติร้อยละ 38.1 - 57.57 ส่วน Fusarium spp เมื่อทดลองในกระถางโดยการใส่เชื้อที่เลี้ยงขยายในห้องปฏิบัติการไม่ทำให้ผลผลิตแตกต่างกันอาจเนื่องมาจากปริมาณและความแข็งแรงของเชื้อต่ำ


ไฟล์แนบ
.pdf   884_2551.pdf (ขนาด: 973.04 KB / ดาวน์โหลด: 543)
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างไส้เดือนฝอยและเชื้อราสาเหตุโรครากอ้อยกับความสามารถการไว้ตอ - โดย doa - 08-02-2016, 04:30 PM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม