06-29-2016, 11:15 AM
การศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้านเศรษฐกิจของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของเกษตรกร (ข้าวโพดฝักสดและถั่วเหลืองฝักสด)
กุลศิริ กลั่นนุรักษ์, อาภาณี โภคประเสริฐ, สุรพงษ์ เจริญรัถ และนันทวรรณ สโรบล
กุลศิริ กลั่นนุรักษ์, อาภาณี โภคประเสริฐ, สุรพงษ์ เจริญรัถ และนันทวรรณ สโรบล
ได้ทำการสุ่มสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อนและข้าวโพดหวานจำนวนทั้งสิ้น 60 ราย ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี โดยแบ่งเป็นสุ่มสำรวจในจังหวัดกาญจนบุรี 30 ราย และราชบุรี 30 ราย ถั่วเหลืองฝักสดในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายจังหวัดละ 10 ราย รวมเป็น 20 ราย โดยในข้าวโพดฝักสด ส่วนที่เป็นข้าวโพดฝักอ่อนพบว่า เกษตรกรในจังหวัดราชบุรี และจังหวัดกาญจนบุรี มีวิธีการปฏิบัติที่คล้ายๆ กัน แต่จะไม่ปฏิบัติตามเทคโนโลยี GAP เกษตรกรไม่เคยมีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ ไม่ทราบความสำคัญของการวิเคราะห์ดินเพื่อการใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินหรือการใช้ปุ๋ยให้เหมาะสม การจัดหาและจัดซื้อเมล็ดพันธุ์เกษตรกรที่จังหวัดราชบุรีทั้งหมดรับเมล็ดพันธุ์และปัจจัยการผลิต จากพ่อค้าคนกลางที่จะเป็นผู้มารับซื้อผลผลิต โดยเรียกผู้จัดหาเหล่านั้นว่า เถ้าแก่ ส่วนที่จังหวัดกาญจนบุรีประมาณร้อยละ 90 ก็เช่นกัน ที่เหลือจัดซื้อจัดหาเมล็ดพันธุ์เอง เกษตรกรทั้ง 60 ราย ไม่รู้จักพันธุ์ของทางราชการการ ส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยยูเรีย (สูตร 46-0-0) เพียงอย่างเดียว เนื่องจากหาซื้อง่าย และส่วนใหญ่เถ้าแก่จะเป็นผู้จัดหาให้น้ำและแหล่งน้ำ เกษตรกรส่วนใหญ่สูบน้ำด้วยไฟฟ้าจากน้ำบาดาลโรงเก็บสารเคมีอันตราย ไม่มีโรงเก็บที่ปลอดภัย เก็บไว้ตามข้างบ้านพักอาศัย ไม่มีโรงคัดแยกและบรรจุเกษตรกรจะจ้างแรงงานเก็บเกี่ยว และจะจ้างปอกเปลือก โดยใช้ลานในบริเวณบ้านพักอาศัยเป็นที่ดำเนินงาน ใช้มีดคัตเตอร์ ไม่มีถุงมือป้องกันเชื้อโรค และไม่มีการเตรียมพร้อมในเรื่องสุขอนามัยของโรงเรือน ต้นทุนและรายได้จากการปลูกแบบใช้ GAP สำหรับการปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่ เสน่ห์และคณะ.2547 ได้ศึกษาไว้พบว่า ต้นทุนผันแปรทั้งหมด 4,035 บาทต่อไร่ในช่วงฤดูแล้ง รายได้รวมทั้งหมดจาการขายฝักทั้งแบบปอกเปลือกและไม่ปอก และการขายต้นเป็นเงิน 6,125 บาทต่อไร่ คงเหลือกำไรสุทธิ 2,120 บาทต่อไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับ ต้นทุนและรายได้ตามแบบที่เกษตรกรปฏิบัติ ต้นทุนผันแปรทั้งหมด 3,040 บาทต่อไร่ รายได้รวมทั้งหมด 5,050 บาทต่อไร่ กำไรสุทธิ 2,010 บาท ต่อไร่ ซึ่งแตกต่างกันเพียง 110 บาทต่อไร่ และผลจาการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 60 รายในช่วงฤดูกาลปลูกปี 2550 ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันเพียงแต่มีต้นทุนที่สูงขึ้น ประมาณ 50% เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นและราคาปุ๋ยที่สูงขึ้นถึง 100% แต่ราคารับซื้อยังคงใกล้เคียงกับของเดิม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อย สำหรับถั่วเหลืองฝักสดพบว่า เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ปลูกถั่วเหลืองฝักสดตามความต้องการของโรงงานส่วนที่จังหวัดเชียงรายเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงฤดูแล้ง หลังนา และจะเป็นถั่วเหลืองฝักสดที่ใช้บริโภคในท้องถิ่นไม่ได้ผลิตเพื่อส่งโรงงานแช่แข็งเพื่อจำหน่ายต่างประเทศ ต้นทุนและรายได้จากการปลูกถั่วเหลืองฝักสดที่จังหวัดเชียงใหม่ จากการสัมภาษณ์พบว่า ต้นทุนผันแปรทั้งหมด 7,000 - 8,000 บาทต่อไร่ในช่วงฤดูฝน รายได้รวมทั้งหมดเป็นเงิน 10,000 - 12,000 บาทต่อไร่ คงเหลือกำไรสุทธิ 4,000 บาทต่อไร่ อย่างไรก็ตามเมื่อได้ทำการศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้านเศรษฐกิจของเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีของเกษตรกรของข้าวโพดฝักสดในเบื้องต้นแล้วก็พบว่า แม้ว่าเกษตรกรจะมีข้อจำกัดค่อนข้างมากในการที่จะปฏิบัติตามเทคโนโลยี GAP รวมทั้งการขาดแรงจูงใจในเรื่องของราคาผลผลิต แต่ถ้าต้องการให้ผลผลิตมีคุณภาพ ปลอดภัย และมีศักยภาพในการแข่งขัน การเผยแพร่ความรู้ในเรื่องของปฏิบัติแบบ GAP จำเป็นที่จะต้องพัฒนาและปรับใช้ให้ได้อย่างจริงจังและได้ผล ซึ่งทั้งนี้จะเห็นได้จากกลุ่มเกษตรกรที่มีสัญญาในการผลิตส่งให้โรงงานจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับจะเป็นไปตามคุณภาพของผลผลิตทำให้เกษตรกรกระตือรือล้นที่จะปฏิบัติตามแบบ GAP ส่วนในเรื่องของถั่วเหลืองฝักสดจะเห็นได้ชัดเจนว่าการปฏิบัติแบบ GAP เป็นเรื่องที่จำเป็นและเกษตรกรยอมรับมาก เพราะทำให้มีรายได้ที่ดี และค่อนข้างมั่นคงทั้งนี้ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขการผลิตแบบมีสัญญา (Contrarc Farming)