06-28-2016, 03:47 PM
การประเมินความเหมาะสมของพันธุ์งาเพื่อปลูกในสภาพไร่อินทรีย์
พรพรรณ สุทธิแย้ม, อรอนงค์ วรรณวงษ์, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดม วงศ์ชนะภัย, อำไพ ประเสริฐสุข, นาตยา จันทร์ส่อง, สิรี สุวรรณเขตนิคม, วิไลศรี ลิมปพะยอม, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, วิมลรัตน์ ดำขำ และนงนุช เดือนดาว
พรพรรณ สุทธิแย้ม, อรอนงค์ วรรณวงษ์, รวีวรรณ เชื้อกิตติศักดิ์, บุญญา อนุสรณ์รัชดา, อุดม วงศ์ชนะภัย, อำไพ ประเสริฐสุข, นาตยา จันทร์ส่อง, สิรี สุวรรณเขตนิคม, วิไลศรี ลิมปพะยอม, ยสิศร์ อินทรสถิตย์, วิมลรัตน์ ดำขำ และนงนุช เดือนดาว
เพื่อประเมินความเหมาะสมของพันธุ์งาในการผลิตแบบอินทรีย์ ในสภาพไร่ จึงทำการทดลองขึ้นโดยวางแผนการทดลองแบบ Split plot design 4 ซ้ำ main plot คือระบบการผลิต 2 ระบบได้แก่อินทรีย์และเคมีและ sub plot คือ พันธุ์งา 4 พันธุ์ ได้แก่ 1) งาดำพันธุ์อุบลราชธานี 3 2) งาขาวพันธุ์อุบลราชธานี 2 3) งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 1 และ 4) งาแดงสายพันธุ์ MR 13 ทุกกรรมวิธี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักจุลินทรีย์ 150 กก./ไร่ ทั้งระบบอินทรีย์และเคมี แต่ในระบบอินทรีย์ พ่นน้ำหมักผลไม้ควบคู่กับน้ำหมักสมุนไพร ทุก 7 วัน ตั้งแต่อายุ 10 วัน หลังงอก จนถึง 70 วันหลังงอก ส่วนระบบเคมี ใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-8 อัตรา 25 กก./ไร่ และสารฆ่าแมลงตามความจำเป็น ปลูกงาในเดือนก.ค.-ส.ค. บันทึกข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต ความงอก %น้ำมัน คุณสมบัติของดินก่อนปลูก/หลังเก็บเกี่ยว ดำเนินการที่ศวร.เชียงใหม่ ศวร.อุบลราชธานี ศบป.สุโขทัย ศวส.กาญจนบุรี และศวส.เพชรบุรี ระหว่างปี 2549-2551 (ศวส.เพชรบุรี ดำเนินการในปี 2551 ปีเดียว) ผลการทดลอง พบว่า งาทั้ง 4 พันธุ์คือ งาดำ อุบลราชธานี 3 งาขาวอุบลราชธานี 2 งาแดงอุบลราชธานี 1 และงาแดงสายพันธุ์ MR13 ใช้ปลูกได้ในระบบอินทรีย์ สภาพไร่ (ปลูกในเดือนก.ค.-ส.ค.) โดยให้ผลผลิตไม่ต่างกัน และไม่ต่างจากการผลิตในระบบเคมี ทั้ง 4 สถานที่ โดยผลผลิตเฉลี่ยที่ ศวร.เชียงใหม่ เท่ากับ 97.9 138.6 96.9 และ 102.6 กก./ไร่ และความงอก 94.9 78.5 82.3 และ 75.7% ตามลำดับ ที่ศวร.อุบลราชธานี ผลผลิตเฉลี่ย 168 123 114 และ 100 กก./ไร่ และให้ความงอก 92.1 89.6 55.3 (เมล็ดยังพักตัวอยู่) และ 87.4% ตามลำดับ ที่ศบป.สุโขทัย ให้ผลผลิต 119.5 69.9 119.1 และ 124.6 กก./ไร่ ตามลำดับ และที่ ศวส.กาญจนบุรี ให้ผลผลิต 158.1 190.5 203.5 และ 173.0 กก./ไร่ ความงอก 93.3 93.1 92.5 และ 92.9% ตามลำดับ เมล็ดงาทั้ง 4 พันธุ์ ให้ %น้ำมันและโปรตีนในระบบอินทรีย์ไม่ต่างจากระบบเคมี และชนิดของกรดไขมันพบว่ามีกรด linoleic (polyunsaturated fatty acid) สูงกว่ากรด oleic (monounsaturated fatty acid)