การศึกษาวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ส้มจากแอฟริกาใต้
#1
การศึกษาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ส้มจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้
ณัฏฐพร อุทัยมงคล, วาสนา ฤทธิ์ไธสง, อลงกต โพธิ์ดี และปรียพรรณ พงศาพิชน์
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          เนื่องจากปัญหาโรครากเน่าของส้มและทำให้ต้นส้มตายเกษตรกรต้องสูญเสียรายได้ เพื่อแก้ปัญหานี้กรมวิชาการเกษตรได้มีโครงการผลิตพันธุ์ส้มปลอดโรคโดยการใช้เมล็ดพันธุ์ส้มที่ต้านทานโรครากเน่ามาผลิตต้นส้มที่ปลอดโรคแล้วนำไปปลูกทดแทนพร้อมมีการจัดการที่ดีที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ จึงมีการนำอนุญาตนำเข้าเมล็ดพันธุ์ส้มซึ่งจัดเป็นสิ่งต้องห้ามตามพระราชบัญญัติกักพืช เข้ามาเพื่อใช้เป็นต้นตอให้กับพันธุ์ส้มเขียวหวานในประเทศ โดยนำเมล็ดเข้ามาจากหลายประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ฯ แต่ได้หยุดการนำเข้าเนื่องจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มิได้ยื่นความจำนงดำเนินการตามกระบวนการตามบทเฉพาะกาลของประกาศกระทรวงฯ ขณะนั้น ต่อมาเมื่อมีการปรับปรุงพระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ. 2507 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 ได้มีผู้ยื่นความประสงค์ขอนำเข้าเมล็ดพันธุ์ส้มจากสาธารณรัฐแอฟริกาใต้มา เพื่อใช้เป็นต้นตอในการปลูกส้มในประเทศไทย ซึ่งการนำเข้าสิ่งต้องห้ามเพื่อการค้าจะต้องผ่านการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช (Pest Risk Analysis) ก่อนเพื่อให้ทราบว่ามีศัตรูพืชชนิดใดบ้าง เป็นศัตรูพืชกักกันเพื่อนำไปกำหนดมาตรการเพื่อจัดการความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันที่อาจติดมากับเมล็ดพันธุ์ส้มนำเข้าตามพระราชบัญญัติกักพืชต่อไป ผลการรวบรวมข้อมูลศัตรูส้มจากประเทศไทยและสาธารณรัฐแอฟริกาใต้พบศัตรูพืช รวม 437 ชนิด เมื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชตามมาตรฐานนานาชาติสำหรับมาตรการสุขอนามัยพืช (ISPM) ฉบับที่ 11 เรื่องคำแนะนำสำหรับการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืชกักกันรวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางสภาพแวดล้อม (Anonymous, 2004) เมื่อนำมาจัดกลุ่มศัตรูพืชแล้วพบว่า มีศัตรูพืช 6 ชนิด ที่มีศักยภาพเป็นศัตรูพืชกักกัน ได้แก่ รา Chalara elegans แบคทีเรีย Candidatus Liberibacter africanum และ Xylella fastidiosa ไวรัส Citrus Psorosis A Citrus tatter leaf และ Citrus leaf blotch (Citrus wood Pocket) เมื่อนำมาประเมินโอกาสการเข้ามาตั้งรกรากถาวร และแพร่ระบาดในพื้นที่วิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดหากศัตรูพืชติดเข้ามากับศัตรูพืช 6 ชนิด พบว่าเป็นศัตรูพืชกักกันที่มีความเสี่ยงสูงได้แก่ แบคทีเรีย Candidatus Liberibacter africanum เชื้อสาเหตุโรคกรีนนิ่ง (Citrus Greening bacterium) Xylella fastidiosa สาเหตุโรค Variegated chlorosis ไวรัส Citrus psorosis A สาเหตุโรค Citrus Psorosis ความเสี่ยงปานกลางได้แก่ Citrus leaf blotch (Citrus wood Pocket) และความเสี่ยงต่ำมาก ได้แก่ ไวรัส Citrus tatter leaf ที่ต้องมีมาตรการจัดการความเสี่ยงทางวิชาการและทางกฎหมายโดยเมล็ดต้องปราศจากดิน แมลงมีชีวิต วัชพืช ส่วนอื่นๆ ของพืชและสิ่งอื่นใดที่จะนำพาให้เป็นศัตรูพืชได้ และในใบรับรองสุขอนามัยพืชต้องมีการรับรองว่า 1) เมล็ดพันธุ์ส้มต้องมาจากแหล่งปลูกในแอฟริกาใต้ที่ไม่เคยมีการปรากฏ Xylella fastidiosa สาเหตุโรค Variegated chlorosis และ 2) เมล็ดพันธุ์ส้มต้องปราศจาก Candidatus Liberibacter africanum สาเหตุโรค Citrus Greening bacterium Citrus Psorosis virus, Citrus leaf blotch virus และ Citrus tatter leaf virus 3) ต้องแช่เมล็ดในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 20 นาที และฆ่าเชื้อที่ผิวด้วย 1 เปอร์เซนต์ Sodium hypochloride 10 นาที หรือแช่ในสารละลาย 8-hydroxyquinoline sulfate (1กรัมต่อเมล็ด 0.1 ลิตร) หรือหากเมล็ดมีความอ่อนแอต่อการแช่ในน้ำร้อน ให้ทำการฆ่าเชื้อที่ผิวและปลูกที่อุณหภูมิ 22 - 24 องศาเซลเซียส ในสถานกักพืช (Post entry Quarantine) นาน 24 เดือน เพื่อสังเกตอาการและตรวจสอบโรครวมถึงการตรวจสอบด้วยวิธี PCR ก่อนปล่อยออกหากปราศจากศัตรูพืชกักกัน
ตอบกลับ


ข้อความในเรื่องนี้
การศึกษาวิเคราะห์ประเมินความเสี่ยงศัตรูพืชสำหรับการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ส้มจากแอฟริกาใต้ - โดย doa - 05-23-2016, 10:47 AM



ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม