04-21-2016, 11:20 AM
การคัดเลือกแบคทีเรียปฏิปักษ์ในการควบคุมเชื้อรา Rhizoctonia solani
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ธารทิพย ภาสบุตร, ศิวิไล ลาภบรรจบ และอ้อยทิน จันทร์เมือง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน และศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ธารทิพย ภาสบุตร, ศิวิไล ลาภบรรจบ และอ้อยทิน จันทร์เมือง
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน และศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
เก็บตัวอย่างกาบใบข้าวโพดที่แสดงอาการไหม้หรือจุดมาทำการแยกเชื้อและศึกษาเชื้อที่แยกได้พบว่า Rhizoctonia solani นำเชื้อที่แยกได้ มาทดสอบประสิทธิภาพของจุลินทรีย์ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อรา R. solani ในห้องปฏิบัติการกับจุลินทรีย์จากหน่วยเก็บจุลินทรีย์โรคพืช จำนวน 181 isolate บนอาหาร PDA พบว่าเชื้อจุลินทรีย์ จำนวน 13 ไอโซเลท แสดงปฏิกิริยายับยั้งเชื้อ R. solani หลังการทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA 2 วัน นำเชื้อที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani จำนวน 13 ไอโซเลท นำไปทดสอบในเรือนเพาะชำที่มีการปลูกเชื้อให้กับพืชอาศัยของเชื้อรา R. solan จากการประเมินการเกิดโรคครั้งที่ 5 พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคอยู่ระหว่าง 29.6 - 55.6 คัดเลือกจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา R. solani จำนวน 7 ไอโซเลท นำไปทดสอบในแปลงทดลองพบว่า กรรมวิธีพ่นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ isolate ที่ 13 (20 W 7) มีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำที่สุดคือ 17.02 ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ isolate ที่ 3 (XM40), 4 (14 G 12), 6 (18 G 6), 7 (C B 7), 8 (14 W 8), 10 (11 W 1) และ isolate ที่ 13 (20 W 7) เปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 22.81, 22.95, 22.97, 21.61, 23.01และ 23.37 ตามลำดับ แต่แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรค 31.61 กรรมวิธีพ่นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ isolate ที่ 3 (XM40), 4 (14 G 12), 6 (18 G 6), 7 (C B 7), 8 (14 W 8), 10 (11 W 1) และ isolate ที่ 13 (20 W 7) ไม่แตกต่างจากกรรมวิธีพ่นน้ำเปล่า