วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของ prothiofos ในมะเขือยาว เพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษ
#1
วิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของ prothiofos ในมะเขือยาว เพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง ครั้งที่ 1 และ 2
จินตนา ภู่มงกุฎชัย, พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, สุพัตรี หนูสังข์ และบุญทวีศักดิ์ บุญทวี
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การทดลองเพื่อศึกษาการสลายตัวของ prothiofos ในมะเขือยาว ประกอบด้วย 2 การทดลอง ได้แก่ การลองครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 การทดลองครั้งที่ 1 ทำการทดลองในแปลงมะเขือยาวของเกษตรกรที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม ระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2553 การทดลองครั้งที่ 2 ที่ อ.สามพราน จ.นครปฐม ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน 2553 แต่ละการทดลองประกอบด้วย 2 แปลงทดลองย่อย ได้แก่ แปลงควบคุม (ไม่พ่น prothiofos) และแปลงที่พ่น prothiofos ตามอัตราแนะนำ ( 50 ml./น้ำ 20 L) ทำการพ่น prothiofos ทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละครั้งจำนวน 3 ครั้ง เก็บผลผลิตที่ระยะเวลาต่างๆ หลังจากพ่นครั้งสุดท้าย สุ่มเก็บมะเขือยาวตามระยะเวลาที่กำหนด และนำเข้าห้องปฎิบัติการเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารพิษตกค้างของ prothiofos ด้วย GC/FPD จกการทดลองครั้งที่ 1 พบปริมาณ 0.49, 0.31, 0.10, 0.07, 0.04, 0.06, 0.01 mg/kg และการทดลองครั้งที่ 2 พบปริมาณ 0.59, 0.18, 0.07, 0.03, ND, ND, ND และ ND mg/kg ที่ระยะเวลา 0, 2, 5, 7, 9, 12, 14 และ 18 วัน ตามลำดับ จากฉลากกำหนดกำหนดให้เก็บผลผลิตหลังการฉีดพ่น prothiofos 14 วัน prothiofos ตกค้างมีปริมาณ 0.01 และ ND mg/kg (การทดลองครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ) Codex ไม่ได้กำหนดค่า MRL ไว้ จากการสลายตัวของการทดลองครั้งที่ 1 ที่ระยะเก็บเกี่ยว (pre-harvest interval; PHI) พบปริมาณ 0.01 mg/kg ซึ่งเป็นค่าต่ำสุดของการตรวจวิเคราะห์ได้ที่มีความถูกต้องและแม่นยำ และเป็นค่าต่ำสุดที่กำหนดจากประเทศผู้นำเข้าที่ให้มีได้ในสินค้า ส่วนการสลายตัวของการทดลองครั้งที่ 2 ไม่พบสารพิษตกค้างตั้งแต่ที่ 9 วัน เกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวมะเขือยาวได้เมื่อทิ้งระยะเวลาหลังจากพ่นครั้งสุดท้าย 14 วัน ส่วนค่าที่บอกถึงความปลอดภัยต่อการบริโภค เป็นค่าที่ได้จากการประเมินการได้รับสัมผัสในอาหารซึ่งประกอบด้วย การได้รับสัมผัสแบบเฉียบพลัน และการได้รับสัมผัสแบบเรื้อรัง จากการทดลองนี้เมื่อคำนวณการได้รับสัมผัสแบบเฉียบพลันของมะเขือยาวที่มี prothiofos ตกค้าง (ที่เวลา 14 วัน) ปริมาณ 0.1 mg/kg มีความปลอดภัยต่อการบริโภคไม่เกิดอาการเฉียบพลันจากสารพิษตกค้าง prothiofos แต่การได้รับสัมผัสแบบเรื้อรังจะต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้ จึงจะประเมินได้ซึ่งค่าทั้ง 2 นี้ จะนำไปใช้ประกอบการพิจารณากำหนดค่า MRL ของ Codex Asean และ National ต่อไป จากการทำแปลงทดลองได้การสลายตัวของ prothiofos มีอัตรา 0.2425 และ 0.4288 mg/kg/d ของการทดลองครั้งที่ 1 และ 2 ตามลำดับ นอกจากนี้ได้สุ่มมะเขือยาวจากแหล่งจำหน่าย จำนวน 41 ตัวอย่าง จากจังหวัดนครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร ตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้างกลุ่ม organophosphate 23 ชนิด กลุ่ม pyrethroid 7 ชนิด และกลุ่ม endosulfan 3 ชนิด ตรวจพบสารพิษตกค้าง 15 ชนิด ปริมาณ 0.01-0.96 mg/kg จำนวน 29 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 71 ได้แก่ cypermethrin ปริมาณ 0.01-0.96 mg/kg จำนวน 22 ตัวอย่าง methidathion ปริมาณ 0.08-0.31 mg/kg จำนวน 2 ตัวอย่าง แต่ 5 ตัวอย่างของ cypermethin และ 1 ตัวอย่างของ methidathion พบสารพิษตกค้างเกิน Codex MRL Chlorpyrifos ปริมาณ 0.01-0.02 mg/kg จำนวน 7 ตัวอย่าง ethion ปริมาณ 0.01-0.29 mg/kg จำนวน 7 ตัวอย่าง omethoate ปริมาณ 0.02-0.47 mg/kg จำนวน 6 ตัวอย่าง dimethoate ปริมาณ 0.01-0.03 mg/kg จำนวน 3 ตัวอย่าง triazophos ปริมาณ 0.6-0.34 mg/kg จำนวน 2 ตัวอย่าง dicrotofos ปริมาณ 0.09-0.13 mg/kg จำนวน 2 ตัวอย่าง profenofos ปริมาณ 0.12-0.13 mg/kg จำนวน 2 ตัวอย่าง deltamethrin ปริมาณ 0.1 mg/kg จำนวน 2 ตัวอย่าง fenvalerate ปริมาณ 0.07 mg/kg จำนวน 1 ตัวอย่าง L-cyhalothrin ปริมาณ 0.01 mg/kg จำนวน 1 ตัวอย่าง และพบ prothiofos ปริมาณ 0.01 mg/kg จำนวน 1 ตัวอย่าง


ไฟล์แนบ
.pdf   1906_2553.pdf (ขนาด: 1.32 MB / ดาวน์โหลด: 1,286)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม