การผลิตแอนติซีรัมของไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus-1 สาเหตุโรคเหี่ยว
#1
การผลิตแอนติซีรัมของไวรัส Pineapple mealybug wilt-associated virus-1 สาเหตุโรคเหี่ยวสับปะรดโดยใช้ระบบเซลล์แบคทีเรีย
วันเพ็ญ ศรีทองชัย, ศรีเมฆ ชาวโพงพาง และกาญจนา วาระวิชะนี
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          นำใบสับปะรดที่เป็นโรคเหี่ยวมาแยกสกัดอาร์เอ็นเอโดยใช้ชุดสกัดอาร์เอ็นเอสำเร็จรูป (MasterPureTMRNA Purification Kit) แล้วนำไปเพิ่มปริมาณด้วยเทคนิค RT-PCR โดยใช้ไพรเมอร์จากส่วนของยีนโปรตีนห่อหุ้มอนุภาคของเชื้อไวรัส PMWaV-1 ได้แก่ Epet101_PMWaV1F (5’CACCATGGCTGATTCGAGCAAACAAAAACAAC3’) และ pet101_PMWaV1R (5’TTTGCGTCCACCCATAAAGATGTGCG3’) สังเคราะห์ได้ชิ้นของดีเอ็นเอขนาด 771 คู่เบส จากนั้นนำไปโคลนเข้าสู่เวคเตอร์ pET 101/D-TOPO® (Invitrogen) และคัดเลือกเฉพาะโคลนที่มีชิ้นดีเอ็นเอที่ใส่เข้าไปใน vector นำมาทำให้บริสุทธิ์โดยวิธี Miniprep แล้วส่งไปตรวจสอบลำดับเบสพบว่า มีลำดับนิวคลีโอไทด์ 771 คู่เบส ขณะนี้กำลังดำเนินการคัดเลือกโคลนที่สามารถสังเคราะห์โปรตีนได้ในเซลล์ของ E. coli ในอาหาร 2XYT ที่เติมสารปฏิชีวนะ ampicillin 100 มิลลิกรัม/ลิตร และใช้สาร Isopropyl-β-D thiogalactopyranoside (IPTG) ในการชักนำให้เกิดการสังเคราะห์โปรตีน


ไฟล์แนบ
.pdf   2233_2554.pdf (ขนาด: 217.64 KB / ดาวน์โหลด: 597)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม