ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเชื้อรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ
#1
ชีววิทยาและนิเวศวิทยาของเชื้อรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ : การเข้าทำลายของรา Guignardia citricarpa สาเหตุโรคจุดดำของส้มโอ
สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ, พรพิมล อธิปัญญาคม, ศรีสุรางค์ ลิขิตเอกราช, ชนินทร ดวงสอาด และธารทิพย ภาสบุตร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการทดลองเพื่อให้ทราบช่วงเวลาการเข้าทำลายผลส้มโอของรา G. citricarpa สาเหตุโรคจุดดำ ทำการทดลองในแปลงส้มโอของเกษตรกร อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยทดลองกรรมวิธีต่าง ๆ คือ เปิดถุงห่อผลเพื่อให้เชื้อรามีโอกาสได้เข้าสู่ผล เมื่อผลส้มโออายุ 0 15 30 45 60 75 90 105 120 วัน กรรมวิธีควบคุมที่ห่อผลตลอดเวลาการทดลอง และกรรมวิธีที่ไม่ห่อผล ผลการประเมินการเกิดโรคจุดดำบนผลส้มโอ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตในปีที่ 1 พบว่า กรรมวิธีที่ 5 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 60 วัน และกรรมวิธีที่ 10 ไม่ห่อผลส้มโอ พบการเกิดโรค 2.00 และ 10.00 เปอร์เซ็นต์ และความรุนแรงของโรคเฉลี่ยระดับ 1.00 และ 3.00 ตามลำดับ ในปีที่ 2 พบว่า กรรมวิธีที่ 1 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 0 วัน (กลีบดอกร่วง) กรรมวิธีที่ 2 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 15 วัน กรรมวิธีที่ 5 เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 60 วัน และกรรมวิธีที่ 10 ไม่ห่อผลส้มโอ พบการเกิดโรค 5.00 1.00 2.00 และ 10.00 เปอร์เซ็นต์ และความรุนแรงของโรคเฉลี่ยระดับ 1.00 และปีที่ 3 พบการเกิดโรคในทุกกรรมวิธี คือ เปิดถุงห่อผลเมื่อผลส้มโออายุ 0 15 30 45 60 75 90 105 120 วัน กรรมวิธีที่ห่อผลตลอดเวลาการทดลอง และกรรมวิธีที่ไม่ห่อผลพบโรค 34.72 28.83 12.50 19.44 16.67 26.39 13.89 22.22 23.61 27.78 และ 31.94 ตามลำดับ ความรุนแรงของโรคเฉลี่ยระดับ 1.28 1.33 2.44 1.43 1.42 1.53 1.50 1.81 1.65 2.25 และ 2.00 ตามลำดับ จากการทดลองสรุปได้ว่าเชื้อรา G. citricarpa มีโอกาสเข้าทำลายผลส้มโอตั้งแต่กลีบดอกร่วงและจะแสดงอาการของโรคให้เห็นเมื่อผลส้มโอถึงช่วงอายุเก็บเกี่ยวผลผลิต


ไฟล์แนบ
.pdf   1672_2553.pdf (ขนาด: 103.42 KB / ดาวน์โหลด: 465)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม