การสำรวจสวนยางขนาดใหญ่และการจัดการสวนยางขนาดใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
#1
การสำรวจสวนยางขนาดใหญ่และการจัดการสวนยางขนาดใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สุภาพร  บัวแก้ว และเอนก  กุณาละสิริ
กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจ  สถาบันวิจัยยาง

          การศึกษาเรื่องการสำรวจสวนยางขนาดใหญ่และการจัดการสวนยางขนาดใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกยางใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบข้อมูลสวนยางขนาดใหญ่เกี่ยวกับจำนวน ที่ตั้งสวน ขนาดสวน ลักษณะการถือครอง การใช้เทคโนโลยีการผลิต การจัดการสวนรวมถึงปัญหาและอุปสรรคของการจัดการสวนยางขนาดใหญ่ การจัดทำฐานข้อมูลสวนยางขนาดใหญ่ในแหล่งปลูกยางใหม่สามารถนำไปใช้ประกอบการวางแผนการผลิตยาง การจัดการสวนยาง และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับงานวิจัยในภูมิภาคนี้ และสาเหตุที่พื้นที่ปลูกกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งสวนยางขนาดเล็ก (2 ไร่แต่ไม่เกิน 50 ไร่) ขนาดกลาง (50 ไร่ แต่ไม่เกิน 250 ไร่) และขนาดใหญ่ (250 ไร่ ขึ้นไป) เนื่องจากการส่งเสริมของภาครัฐ ประกอบกับราคายางปรับตัวสูงขึ้นโดยตลอด และการมองไปถึงความต้องการใช้ยางที่สูงขึ้นในอนาคต การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจสวนยางพาราขนาดใหญ่ในเขตภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) แล้วดำเนินการสำรวจข้อมูลจากเกษตรกรในพื้นที่และสำรวจแปลงยางขนาดใหญ่ทั้งยางก่อนการเปิดกรีดและหลังเปิดกรีด เพื่อให้ได้ข้อมูลเบื้องต้นและนำมาเป็นฐานข้อมูลสวนยางขนาดใหญ่ในแหล่งปลูกยางใหม่โดยใช้เป็นข้อมูลในการศึกษาการจัดการการดูแลรักษาสวน การพยากรณ์ปริมาณการผลิตและข้อมูลสถิติยางของประเทศต่อไป

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ถือครองสวนยางขนาดใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยพิจารณาจากการถือครองพื้นที่โดยรวม 250 ไร่ขึ้นไป ถือเป็นสวนยางขนาดใหญ่ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 191 ราย มีจำนวนพื้นที่รวม 157,485 ไร่ จากพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด 3,678,909 ไร่ ในส่วนของการบริหารจัดการทั้งระบบของสวนยางขนาดใหญ่ได้มีการจำแนกขนาดสวนยางขนาดใหญ่ออกเป็น 3 ขนาด คือ สวนยางที่มีขนาดพื้นที่ 250- 500 ไร่ สวนยางมีขนาดพื้นที่ 501–1,000 ไร่ และสวนยางมีขนาดพื้นที่มากกว่า 1,000 ไร่ เพื่อศึกษาเรื่องของการปฏิบัติงาน การใช้เทคโนโลยีในสวนยาง และเงินทุนในการดำเนินงาน ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น


ไฟล์แนบ
.pdf   1540_2552.pdf (ขนาด: 493.72 KB / ดาวน์โหลด: 4,582)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม