การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การแปรรูปยางแผ่นดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
#1
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การแปรรูปยางแผ่นดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศจีรัตน์   แรมลี และเกษตร แนบสนิท
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย  สถาบันวิจัยยาง 

          โครงการการพัฒนาการแปรรูปยางดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นการพัฒนาคุณภาพการแปรรูปยางของเกษตรกรแบบครบทั้งวงจร ในกิจกรรมที่ 1 คือ ระบบควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสำหรับผลิตยางแผ่นรมควันมีขั้นตอนตั้งแต่ การนำน้ำยางที่ได้จากการกรีดยาง นำไปผสมน้ำและน้ำกรด เพื่อนำไปรีดเป็นยางแผ่นดิบและนำไปผึ่งให้แห้ง แต่อย่างไรก็ดีเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงยังขาดความรู้ และความเข้าใจในการผลิตยางแผ่นดิบที่ถูกต้องเพื่อนำไปผลิตยางแผ่นรมควัน จากกิจกรรมนี้มีการดำเนินการในปีงบประมาณ 2551-2553 โดยการจัดเวทีเสวนาเกษตรกรสวนยางขึ้นใน 13 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แก่ หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม เลย สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และมหาสารคาม รวม 37 เวที มีเกษตรกรเข้าร่วม 1,471 ราย วัตถุประสงค์เพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิของกลุ่มเกษตรกร ข้อมูลปัญหาการผลิตยางแผ่นดิบ และสามารถคัดเลือกเกษตรกรผู้นำ 552 ราย เพื่อรับการเข้าฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดี โดยมีการทำแบบประเมินก่อนและหลังการฝึกอบรม รวมถึงมีการติดตามประเมินผลหลังจากการฝึกอบรมในกลุ่มตัวอย่างตามหลักสถิติ พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 69.5 สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตยางแผ่นดิบ และสามารถนำไปพัฒนาการทำยางแผ่นดิบในสวนตนเอง ส่วนการติดตามประเมินผลตัวเกษตรกรผู้นำสำหรับถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรเครือข่ายพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 73 ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ครอบครัว เพื่อนบ้านและชุมชนของตนเอง


ไฟล์แนบ
.pdf   1538_2552.pdf (ขนาด: 261.56 KB / ดาวน์โหลด: 1,154)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม