การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์
#1
การศึกษาชนิดราไมคอร์ไรซ่ากล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์และการใช้ประโยชน์
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสะอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          สำรวจและเก็บรวบรวมกล้วยไม้จากจังหวัดกระบี่ ตาก อุบลราชธานี และกรุงเทพฯ ระหว่างเดือนตุลาคม 2552 - เดือนกันยายน 2553 จากกล้วยไม้ดิน 11 ชนิด และกล้วยไม้เกาะอาศัย ได้แก่ เอื้องปากนกแก้ว (Dendrobium cruentum) ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่มีรายงานว่าเป็นกล้วยไม้ใกล้สูญพันธุ์ แยกราไมคอร์ไรซาจากรากกล้วยไม้บนอาหารวุ้นสังเคราะห์สูตร NDY (1/6) ผสมสารปฏิชีวนะ steptomycin และ tetracycline บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้องปฏิบัติการ ได้ราไมคอร์ไรซาจำนวน 51 isolates นอกนั้นเกิดการปนเปื้อนจากแบคทีเรีย 50 เปอร์เซ็นต์ จำแนกชนิดของราไมคอร์ไรซาโดยศึกษารูปร่าง ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของราภายใต้กล้องจุลทรรศน์ โดยศึกษาลักษณะและวัดขนาดของเส้นใย ลักษณะเส้นใยตั้งฉาก ลักษณะรูปร่าง ขนาดของ monilioid cell และจำนวนนิวเคลียสต่อเซลล์พบว่า ราทั้ง 51 isolates เป็น Bi nucleate ทั้งหมด และจำแนกได้ 2 ชนิด ได้แก่ Rhizoctonia repens และ Rhizoctonia goodyerae - repentis


ไฟล์แนบ
.pdf   1704_2553.pdf (ขนาด: 45.93 KB / ดาวน์โหลด: 670)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม