12-02-2015, 10:46 AM
การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Didymella bryoniae (Auersw.) Rehm.
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
ทัศนาพร ทัศคร, ธารทิพย ภาสบุตร, พีระวรรณ พัฒนวิภาส และอภิรัชต์ สมฤทธิ์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
สำรวจและเก็บตัวอย่างแตงกวา แตงร้าน แตงแคนตาลูป และแตงเมล่อนที่แสดงอาการโรคยางไหล ที่ จ.สุพรรณบุรี แพร่ สระแก้ว และพะเยา เพื่อแยกหาเชื้อสาเหตุในห้องปฏิบัติการ สามารถแยกได้รา D. bryoniae จำนวน 3 ไอโซเลท ทดสอบการเจริญของเชื้อสาเหตุโรคจำนวน 3 ไอโซเลทบนอาหารสูตรต่างๆ จำนวน 7 สูตรที่เตรียมไว้ ได้แก่ PDA PSA PCA MEA CMA OMA และ V8 agar ทำการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของเชื้อและลักษณะของเส้นใยทุกวัน ผลการทดลอง ที่ 9 วัน พบว่า เชื้อราสาเหตุโรค D. bryoniae ทั้ง 3 ไอโซเลท สามารถเจริญได้ดีที่สุดบนสูตรอาหาร PDA OMA และ V8 agar และจากการทดสอบเลี้ยงเชื้อราสาเหตุโรคจำนวน 3 ไอโซเลท ลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อสูตรจำนวน 7 สูตร ได้แก่ PDA PSA PCA MEA CMA OMA และ V8 agar สูตรๆ ละ 10 จานอาหารเลี้ยงเชื้อ และนำไปบ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 10, 20 และ 25 องศาเซลเซียส ทำการบันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของเชื้อและลักษณะของเส้นใยทุกวัน ผลกำรทดลองที่ 9 วัน พบว่า เชื้อราสาเหตุโรคสามารถเจริญได้ดีทั้ง 3 ไอโซเลท ในทุกสูตรอาหาร ที่อุณหภูมิ 20 องศำเซลเซียส