ศึกษาความเป็นพิษและประสิทธิภาพของสบู่ดำและมะคำดีควาย เพื่อใช้เป็นสารกำจัดหอย
#1
ศึกษาความเป็นพิษและประสิทธิภาพของสบู่ดำ Jatropha curcus และมะคำดีควาย Sapidus emajinatus เพื่อใช้เป็นสารกำจัดหอยสาลิกา Sarika sp. และหอยดักดาน Cryptozona siamensis
ปราสาททอง พรหมเกิด, ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง, ทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบสารสกัดสบู่ดำ และสารสกัดมะคำดีควายกับหอยสาริกา และหอยดักดาน ในห้องปฏิบัติการกลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร ตามแผนการทดลอง CRD จำนวน 5 กรรมวิธีๆ ละ 4 ซ้ำ โดยสารสกัดแต่ละชนิดใช้ อัตรา 3 และ 5 มิลลิลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร โดยคัดแยกหอยสาริกา และหอยดักดาน ที่สมบูรณ์ใส่กล่องขนาด 6 x 10 x 3 เซนติเมตร กล่องละ 5 ตัว แล้วให้อาหารปลาชนิดเม็ดเก็บไว้ 1 คืน จึงทำการทดลองด้วยการพ่นสารสกัดแต่ละชนิดตามอัตราที่กำหนด ตามแผนการทดลอง ลงในกล่องให้ถูกตัวหอย หลังทดสอบ 3 วัน ตรวจนับหอยพบว่า หอยดักดานตาย 50, 50, 100, 100 และ 0 % ตามลำดับ ส่วนหอยสาลิกาตาย 25, 100, 100, 100 และ 0 % ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาทางเนื้อเยื่อวิทยา พบเซลล์และเนื้อเยื่ออวัยวะ กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ ไต อวัยวะสืบพันธุ์ของหอยสาริกาและหอยดักดานที่ได้รับสารสกัดมะคำดีควาย และสารสกัดสบู่ดำถูกทำลาย จึงเป็นสาเหตุให้หอยตาย ยังต้องทำการทดลองต่อ


ไฟล์แนบ
.pdf   2405_2555.pdf (ขนาด: 434.56 KB / ดาวน์โหลด: 976)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม