11-19-2015, 03:37 PM
ต้นแบบการผลิตขยายไรตัวห้ำเป็นปริมาณมาก
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล สังกัด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส้านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
มานิตา คงชื่นสิน, พิเชฐ เชาวน์วัฒนวงศ์, พลอยชมพู กรวิภาสเรือง และอัจฉราภรณ์ ประเสริฐผล สังกัด
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส้านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
การผลิตขยายไรตัวห้ำเป็นปริมาณมาก ทำการศึกษาที่ห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กลุ่มกีฏและสัตววิทยา ส้านักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรุงเทพฯ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง และศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ไรตัวห้ำชนิดที่มีศักยภาพในการนำมาใช้ควบคุมไรศัตรูพืชในประเทศไทยได้แก่ Amblyseius (=Neoseiulus) longispinosus (Evans), A. californicus (McGregor) และ A. cinctus Corpuz and Rimando ให้เป็นต้นแบบการผลิตไรตัวห้ำเป็นปริมาณมากได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายถ่ายทอดให้เกษตรกรและผู้สนใจสามารถนำไปปฏิบัติตามหรือนำไปผลิตเพื่อเป็นการค้าได้ การผลิตไรตัวห้ำ A. longispinosus และ A. californicus แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การเพาะเลี้ยงพ่อ - แม่พันธุ์ไรอาหาร และพ่อแม่พันธุ์ไรตัวห้ำ และ 2) การเลี้ยงขยายไรแดงหม่อนและไรตัวห้ำให้ได้ปริมาณมากบนต้นถั่ว ไรอาหารที่เหมาะสมใช้เป็นเหยื่อสำหรับการผลิตไรตัวห้ำ A. longispinosus และ A. californicus ในพื้นที่มีอากาศอบอุ่นร้อน เช่น กรุงเทพฯ คือ ไรแดงหม่อน ส่วนการผลิตไรตัวห้ำบนที่สูงที่มีอากาศเย็น ไรอาหารที่เหมาะสม คือ ไรสองจุด พืชอาศัยที่ใช้เพาะเลี้ยงควรเป็นถั่วชนิดที่เติบโตรวดเร็วในภูมิอากาศของพื้นที่ขณะเพาะเลี้ยง ใน 1 รอบการผลิตใช้เวลา 5-6 สัปดาห์ ได้ไรตัวห้ำประมาณ 100 เท่าจากจำนวนพ่อแม่พันธุ์ไรตัวห้ำตั้งต้น เมื่อเก็บเกี่ยวไรตัวห้ำแล้วไรตัวห้ำสามารถมีชีวิตในสภาพอดอาหารได้ 2 - 3 วัน สามารถยืดอายุไรตัวห้ำให้ยืนยาวได้มากขึ้นหากเก็บในตู้เย็น ส่วนการเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus พบว่า เหยื่อที่เหมาะสม คือ เกสรดอกธูปฤาษี เกสรดอกตีนตุ๊กแก สลับกับการเลี้ยงด้วยไรขาวพริก โดยเลี้ยงในถาดพลาสติก การเพาะเลี้ยงไรตัวห้ำ A. cinctus ในงานวิจัยนี้ยังไม่สามารถผลิตไรตัวห้ำชนิดนี้เป็นปริมาณมากได้ จำเป็นต้องมีการศึกษาต่อยอดเพิ่มเติม