การประเมินผลกระทบของสารตกค้างในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน
#1
การประเมินผลกระทบของสารตกค้างในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน
จันทิมา ผลกอง, มลิสา เวชยานนท์, อำนาจ กะฐินเทศ และประกิจ จันทร์ติ๊บ
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การปนเปื้อนของสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาสำคัญที่เกิดจากการใช้ประโยชน์สารพิษทางการเกษตรในแหล่งเกษตรกรรม ทำให้เกิดการสะสมและแพร่กระจายของสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะบริเวณแหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค งานวิจัยนี้ได้ตรวจติดตามการปนเปื้อนของสารพิษตกค้างในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนรวมทั้งบริเวณคลองแยก เพื่อประเมินผลกระทบ รวมทั้งความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สุ่มเก็บตัวอย่างในช่วงฤดูแล้งและฝน รวมทั้งหมด 144 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ด้วยแก๊สโครมาโทกราฟีและลิควิดโครมาโทกราฟี พบสารพิษตกค้างในตัวอย่างน้ำบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นสารกำจัดวัชพืช atrazine โดยค่าสูงสุดที่ตรวจพบในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน เท่ากับ 0.22 และ 0.60 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ส่วนในแม่น้ำท่าจีน พบสารพิษตกค้างในตัวอย่างน้ำ เป็นสารกำจัดวัชพืช atrazine และ ametryn โดยค่าสูงสุดของ atrazine ที่ตรวจพบในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน เท่ากับ 0.28 และ 0.33 ไมโครกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่าสูงสุดของ ametryn ที่ตรวจพบในช่วงฤดูฝน เท่ากับ 0.43 ไมโครกรัมต่อลิตร ซึ่งปริมาณการปนเปื้อน atrazine และ ametryn ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด ผลของการประเมินผลกระทบในสิ่งแวดล้อมได้ค่า Hazard Quotient (HQ) และ Risk Quotient (RQ) น้อยกว่า 1 เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้

คำหลัก: สารพิษตกค้าง น้ำ ตะกอน การประเมินความเสี่ยง การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม


ไฟล์แนบ
.pdf   43. การประเมินผลกระทบของสารตกค้างในแม่น้ำเจ้าพระยาและท่าจีน.pdf (ขนาด: 250.81 KB / ดาวน์โหลด: 187)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม