10-18-2019, 10:09 AM
ชีววิทยาและการแพร่กระจายของกกกระจุก
อัณศยา พรมมา, ศิริพร ซึงสนธิพร, ธัญชนก จงรักไทย, เอกรัตน์ ธนูทอง และกาญจนา พฤษพันธ์
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
อัณศยา พรมมา, ศิริพร ซึงสนธิพร, ธัญชนก จงรักไทย, เอกรัตน์ ธนูทอง และกาญจนา พฤษพันธ์
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช สำนักคุ้มครองพันธุ์พืช
การศึกษาชีววิทยาและการแพร่กระจายของกกกระจุก ดำเนินการทดลองระหว่างตุลาคม 2559 - กันยายน 2561 การสำรวจพบกกกระจุกแพร่กระจายในพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดสมุทรปราการ และนนทบุรี กกกระจุกมีเมล็ดขนาดเล็ก สีน้ำตาล รูปกระสวย ปลายมีติ่งแหลม กว้าง 0.2 - 0.3 มิลลิเมตร ยาว 0.6 - 0.9 มิลลิเมตร และมีน้ำหนัก 100 เมล็ด 0.0028 กรัม ไม่พบการงอกในห้องปฏิบัติการ ส่วนในสภาพเรือนทดลองมีการงอก 32 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาการเจริญเติบโต และการสร้างเมล็ด พบว่ากกกระจุกมีความสูง จำนวนหน่อ จำนวนช่อดอก จำนวนเมล็ด น้ำหนักสด และน้ำหนักแห้ง ไม่แตกต่างกันทางสถิติทุกกรรมวิธีทดลอง โดยมีความสูงอยู่ระหว่าง 26.2 - 30.7 เซนติเมตร จำนวนหน่ออยู่ระหว่าง 9 – 14 หน่อ/ต้น ช่อดอกอ่อนอยู่ระหว่าง 1 – 2 ช่อ/ต้น ช่อดอกแก่อยู่ระหว่าง 1 – 4 ช่อ/ต้น จำนวนเมล็ดอยู่ระหว่าง 35,333 - 115,977 เมล็ด/ต้น น้ำหนักสดอยู่ระหว่าง 12.23 - 26.02 กรัม/ต้น และน้ำหนักแห้งอยู่ระหว่าง 3.29 - 7.21 กรัม/ต้น และมีวงจรชีวิต 72 วัน และการศึกษาคุณสมบัติทางอัลลิโลพาธิเบื้องต้น ในห้องปฏิบัติการ พบว่าราก ใบ ก้านช่อดอก และช่อดอกของกกกระจุก สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของรากและลำต้นของไมยราบยักษ์ได้ โดยใบของกกกระจุก 0.5 กรัม สามารถยับยั้งการเจริญของลำต้นไมยราบยักษ์ได้ 100 เปอร์เซ็นต์