ศึกษาสภาพการผลิตพืชอินทรีย์ของเกษตรกรในเขตภาคใต้ตอนบน
#1
ศึกษาสภาพการผลิตพืชอินทรีย์ของเกษตรกรในเขตภาคใต้ตอนบน
ชวิศร์ สวัสดิสาร, อาพร คงอิสโร, อุดมพร เสือมาก, ศรีเวียง มีพริ้ง, สุธีรา ถาวรรัตน์, สุรกิตติ ศรีกุล และวิรัตน์ ธรรมบำรุง
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 

          ศึกษาสภาพการผลิตพืชอินทรีย์ของเกษตรกรในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเข้าสู่ระบบการผลิตพืชอินทรีย์ของเกษตรกรสู่การรับรองแหล่งผลิตตามมาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1-2552 และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อื่นๆ เพื่อสนองนโยบายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2564 (2) เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการเข้าสู่ระบบการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1 - 2552 ของเกษตรกร (3) เพื่อศึกษาการยอมรับการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1 - 2552 ของเกษตรกร (4) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของเกษตรกรที่เข้าสู่ระบบการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร 9000 เล่ม 1 - 2552 ของเกษตรกร โดยใช้แบบสัมภาษณ์ศึกษาจากเกษตรกรผลิตพืชอินทรีย์ตาม มกษ.9000 เล่ม 1 - 2552 จำนวน 182 ราย 82 ชนิดพืช 1,582.27 ไร่ ตั้งแต่ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 สรุปว่าเกษตรกรจะมีประสิทธิภาพในการเข้าสู่ระบบการผลิตพืชอินทรีย์เพื่อขอการรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและคงสถานะการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ได้อย่างยั่งยืน ถ้าเกษตรกรมีความพึงพอใจต่อสุขภาพตนเอง และบุคคลในครอบครัว ราคาจำหน่ายผลผลิตพืชอินทรีย์เหมาะสมหรือต่างจากผลผลิตทั่วไปที่มีการใช้สารเคมี และมีตลาดหรือช่องทางจำหน่ายผลผลิตพืชอินทรีย์ชัดเจน มั่นคง และยั่งยืนเกษตรกรมีทัศนคติในการริเริ่มเข้าสู่การผลิตพืชอินทรีย์เนื่องจากต้องการมีสุขภาพที่ดี แต่ผลผลิตมีราคาที่เหมาะสมหรือสูงกว่าราคาผลผลิตทั่วไป (มีการใช้กว่าเคมี) เป็นแรงจูงใจสำคัญสู่การตัดสินใจผลิตพืชอินทรีย์เพื่อขอการรับรองตามมาตรฐานสินค้าเกษตร การยอมรับการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร พบว่ามีการยอมรับความคิดเห็นตาม มกษ.9000 เล่ม 1 - 2552 เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (4.12) และนำไปปฏิบัติตาม มกษ.9000 เล่ม 1 - 2552 เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (70.79) เช่นเดียวกัน แต่สถานะการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ของเกษตรกรที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลการรับรองไม่มั่นคงและยั่งยืน เนื่องจากปัญหาด้านราคาผลผลิตพืชอินทรีย์ไม่แตกต่างจากผลผลิตพืชทั่วไป ขาดตลาดจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ ทำให้เกษตรกรขาดความมั่นใจในการเข้าสู่ระบบการผลิตพืชอินทรีย์และการปฏิบัติตามมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อขอการรับรอง ส่งผลต่อเกษตรกรไม่มีแรงจูงใจในการเข้าสู่การผลิตพืชอินทรีย์เพื่อขอการรับรองสำหรับรายใหม่ และการไม่สามารถรักษาสถานะการรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ไว้ได้สำหรับเกษตรกรรายเก่าที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลเดิมทั้ง แปลงระยะปรับเปลี่ยน แปลงใหม่ และแปลงต่ออายุ ปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรผลิตพืชอินทรีย์ พบว่าอยู่ในระดับมาก เนื่องจากปัญหาด้านการหาซื้อปุ๋ยอินทรีย์ ชีวภาพหรือวัสดุปรับปรุงบำรุงดินตามมาตรฐานสินค้าเกษตรยำก การขาดความรู้ความเข้าใจในการสร้างแนวกันชน ทางดิน น้ำ อากาศ รวมทั้งการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โรค และแมลง ปัญหาราคาจำหน่ายผลผลิตพืชอินทรีย์ไม่ต่างจากผลผลิตพืชทั่วไป ขาดตลาดในการจำหน่ายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ และสุดท้ายขาดการแนะนำ ส่งเสริม หรืออบรมแนวทางการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร


ไฟล์แนบ
.pdf   5_2561.pdf (ขนาด: 1.57 MB / ดาวน์โหลด: 1,177)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม