11-18-2015, 11:16 AM
การปรับปรุงวิธีการตรวจหาแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในหัวพันธุ์ปทุมมาโดยใช้ชุดตรวจสอบ (GLIFT kit) โรคเหี่ยวของปทุมมาและการขยายผลการใช้ชุดตรวจสอบในกระบวนการผลิตหัวพันธุ์
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ดารุณี ปุญญพิทักักษ์, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, วิภาดา ทองทักษิณ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการและศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน
ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ดารุณี ปุญญพิทักักษ์, ทิพวรรณ กันหาญาติ, รุ่งนภา ทองเคร็ง, วิภาดา ทองทักษิณ และสุธามาศ ณ น่าน
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, กลุ่มวิชาการและศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน
ศึกษาวิธีการเตรียมตัวอย่างหัวพันธุ์ปทุมมาที่มีประสิทธิภาพโดยการนำหัวพันธุ์ปทุมมา มาตัดชิ้นส่วน นำเอาเฉพาะส่วนท่อน้ำ ท่ออาหารมาตรวจหาเชื้อ Ralstonia solanacearum ได้ดีที่สุด ทดสอบบัปเฟอร์ต่างๆ ในการทำ GLIFT kit ได้แก่ coating buffer phosphate buffer citrate buffer Tris buffer ได้สารละลาย buffer ที่เหมาะสมในการทำชุดตรวจสอบ ทดสอบความเข้มข้นของแอนติซีรั่มที่ใช้ในการผลิตชุดตรวจสอบ ได้ความเข้มข้นของแอนติซีรั่มที่ใช้ในการผลิตชุดตรวจสอบ 1:500 ทดสอบความเฉพาะเจาะจงของแอนติซีรั่มพบว่า มีความเฉพาะเจาะจงกับเชื้อแบคทีเรีย RS ที่ความเข้มข้นต่ำสุด 1x10(3) cfu/ml ทดสอบ buffer ต่างๆ กับกระดาษชนิดต่างๆ ในการทำชุด GLIFT kit พบว่า buffer สามารถใช้ได้ดีกับกระดาษไนโตรเซลูโลส AE99 โดยมีความไวในการตรวจ 10x10(3) cfu/ml