04-22-2019, 11:23 AM
การจัดการวัชพืชแบบผสมผสานในพริก
สิริชัย สาธุวิจารณ์ และทิพย์ดรุณี สิทธินาม
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
สิริชัย สาธุวิจารณ์ และทิพย์ดรุณี สิทธินาม
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
วัชพืช เป็นศัตรูพืชที่ส่งผลกระทบต่อพริกทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ จึงได้ศึกษาหาวิธีการจัดการวัชพืชแบบผสมผสานที่มีประสิทธิภาพ โดยดำเนินการทดลองในสภาพแปลงปลูกในฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2559 – เมษายน 2560 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 9 กรรมวิธี ประกอบด้วย 1) pendimethalin 33% EC + คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วยกำจัดวัชพืชด้วยมือ 2) alachlor 48% EC + คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วยกำจัดวัชพืชด้วยมือ 3) คลุมแปลงด้วยฟางข้าว ตามด้วย haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตามด้วยกำจัดวัชพืชด้วยมือ 4) คลุมแปลงด้วยต้นข้าวโพด ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วยกำจัดวัชพืชด้วยมือ 5) คลุมแปลงด้วยพลาสติกเทาดำ + กำจัดวัชพืชด้วยมือ ที่ระยะ 30 และ 60 วันหลังย้ายปลูก 6) pendimethalin 33% EC ตามด้วย haloxyfop-P-methyl 10.80% EC ตามด้วยกำจัดวัชพืชด้วยมือ 7) alachlor 48% EC ตามด้วย fluazifop-P-butyl 15% EC ตามด้วยกำจัดวัชพืชด้วยมือ 8) กำจัดวัชพืชด้วยมือ (ที่ระยะ 30, 60 และ 90 วัน หลังย้ายปลูก) และ 9) ไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า กรรมวิธีการควบคุมวัชพืชทุกกรรมวิธีมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชในแปลงปลูกพริกในฤดูหนาวได้ดี แต่สิ่งที่มีความแตกต่างกัน คือ ต้นทุนการจัดการวัชพืช การใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก และประเภทหลังงอก และตามด้วยการจัดการวัชพืชด้วยมือ จะมีต้นทุนในการจัดการวัชพืชต่ำสุด ซึ่งเกษตรกรสามารถเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเองและนำไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชต่อไป