12-17-2018, 11:17 AM
ชนิดศัตรูพืชกักกันที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา \
วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช, ชลธิชา รักใคร่, จันทร์พิศ เดชหามาตย์, พรพิมล อธิปัญญาคม และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชอินเดีย ญี่ปุ่น อิสราเอล ชิลี และฟิลิปปินส์
วันเพ็ญ ศรีชาติ, วานิช คำพานิช, ชลธิชา รักใคร่, จันทร์พิศ เดชหามาตย์, พรพิมล อธิปัญญาคม และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชอินเดีย ญี่ปุ่น อิสราเอล ชิลี และฟิลิปปินส์
จากการสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา และเมล็ดพันธุ์นำเข้าจากอินเดีย (ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงกันยายน 2560) โดยนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบเบื้องต้นภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ ไม่พบลักษณะอาการผิดปกติ ไม่มีร่องรอยการทำลายของแมลงศัตรูพืชและไม่มีวัชพืชติดมากับเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว เมล็ดพันธุ์บรรจุอยู่ในบรรจุภัณฑ์สะอาด ปิดมิดชิด และเมื่อนำเมล็ดพันธุ์มาตรวจสอบศัตรูพืชขั้นละเอียดในห้องปฏิบัติการด้วยวิธี Blotter method พบว่าเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา พบเชื้อราจำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Fusarium oxysporum และ F. solani และเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าจากอินเดีย ตรวจพบเชื้อรา จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ 1) Drechslera halodes และ Macrophomina phaseolina ส่วนการตรวจสอบด้วยวิธี Dilution technique และ ELISA technique ไม่พบศัตรูพืชติดมากับเมล็ดพันธุ์ และเมื่อนำเมล็ดพันธุ์ปลูกสังเกตอาการของโรคในโรงเรือน (Seedling symptom) ไม่พบอาการผิดปกติกับต้นเมลอน และผลการติดตามตรวจสอบศัตรูพืชในแปลงปลูกเมล็ดพันธุ์เมลอนนำเข้าจากอเมริกา ในจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ และอุดรธานี พบโรคกับต้นเมลอน จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ โรคต้นแตกหรือยางไหล เชื้อสาเหตุ Didymella bryoniae, โรคราน้ำค้าง เชื้อสาเหตุจาก Pseudoperonospora cubensis, โรคแอนแทรคโนสเชื้อสาเหตุ Colletotrichum orbiculare, และโรคต้นเหี่ยว หรือผลเน่า เชื้อสาเหตุ Fusarium oxysporum ซึ่งศัตรูพืชที่พบทั้งในห้องปฏิบัติการและในแปลงปลูก ไม่เป็นศัตรูพืชกักกัน
ของประเทศไทย