09-17-2018, 10:24 AM
โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียวในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันตก
นงลักษ์ ปั้นลาย, สันติ พรหมคำ, ศรีอุดร เพชรเวียง, สมบัติ บวรพรเมธี, สุภาพร สุขโต, ปวีณา ก๋าเรือง, สงัด ดวงแก้ว และสุกัญญา สอนใจ
ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี
นงลักษ์ ปั้นลาย, สันติ พรหมคำ, ศรีอุดร เพชรเวียง, สมบัติ บวรพรเมธี, สุภาพร สุขโต, ปวีณา ก๋าเรือง, สงัด ดวงแก้ว และสุกัญญา สอนใจ
ศูนย์ขยายเมล็ดพันธุ์พืชลพบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุทัยธานี
ถั่วเขียวเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในประเทศไทยเพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีอายุสั้น เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เมื่ออายุ 65 - 70 วัน ปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด มีการปฏิบัติดูแลรักษาน้อยเมื่อเทียบกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย เกษตรกรนิยมปลูกเป็นพืชหมุนเวียนกับข้าวและพืชไร่ต่างๆ โดยผลผลิตส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเพาะถั่วงอก วุ้นเส้น และขนมหวาน นอกจากนี้ ยังเป็นพืชที่ช่วยบำรุงดินและรักษาความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินเพราะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศได้ดี ซึ่งทำงานร่วมกับไรโซเบียมทำให้เกิดปมที่รากและต้นถั่วเขียวยังสามารถทำเป็นปุ๋ยพืชสดได้ดี โดยทั่วไปจะให้ปริมาณไนโตรเจนสูงถึง 5 - 6 กิโลกรัม/ไร่ แต่ในปัจจุบันที่การผลิตถั่วเขียวภายในประเทศมีไม่เพียงพอ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ เมียนมา และออสเตรเลีย และโดยทั่วไปการผลิตถั่วเขียวของเกษตรกรยังไม่มีการวิเคราะห์ดินก่อนการปลูก มีการใช้ปุ๋ยเคมีอัตราเดิมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเกษตรกรบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าในในการจัดการ การดูแลรักษา การกำจัดแมลงศัตรูพืช จึงส่งผลให้ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรต่ำ ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยให้เกษตรกรมีผลผลิต และรายได้ที่เพิ่มขึ้น ลดรายจ่าย ก็คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการปลูกแบบเดิมของเกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีในการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งค่าวิเคราะห์ดินจะบอกให้ทราบว่าดินมีธาตุอาหารพืชต่างๆ ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์และปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืชมากหรือน้อยพียงใดเป็นเครื่องมือในการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกับการใช้ปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัว คือ เมื่อเข้าไปอาศัยสร้างปมอยู่ในรากของพืชของตระกูลถั่วแล้วจะสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศ มาสร้างเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่จะนำไปใช้ในการเจริญเติบโต และยังลดการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนได้อีกด้วย