การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในจังหวัดราชบุรีโดยใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย
#1
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักในจังหวัดราชบุรีโดยใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทย
ช่ออ้อย กาฬภักดี, สุรพล สุขพันธ์, อุดม วงศ์ชนะภัย, ปัญญา พุกสุ่น, นิลุบล ทวีกุล และนุชนารถ ตั้งจิตสมคิด
ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 และสำนักวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ

          เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชผักของเกษตรกรจังหวัดราชบุรี จึงทำการขยายผลการใช้เทคโนโลยีไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยในการกำจัดแมลงศัตรูพืช ระหว่างปี 2558 - 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถผลิตสารชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชและใช้ในพื้นที่ปลูกผักได้เอง เพื่อช่วยลดค่าสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และได้ผลิตผลสูง ปลอดภัยต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม โดยการจัดทำแปลงเรียนรู้การใช้ไส้เดือนฝอยในการกำจัดแมลงศัตรูพืชผัก ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี ทำแปลงทดสอบและแปลงต้นแบบเชิงทดสอบ ณ แปลงเกษตรกรผู้ปลูกผักในจังหวัดราชบุรี ซึ่งประกอบด้วย 2 วิธีการ คือ วิธีการของเกษตรกรซึ่งใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผัก และวิธีการของกรมวิชาการเกษตร ที่ใช้ไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยร่วมกับการใช้สารเคมี ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการน าไส้เดือนฝอยไปใช้ประโยชน์ และการขยายผลโดยร่วมมือกับเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร และหน่วยงานต่างๆ ดำเนินงานผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงานในแปลงเรียนรู้และแปลงต้นแบบ ผลการดำเนินงานพบว่า วิธีการของกรมวิชาการเกษตร ให้ผลผลิตเฉลี่ยจากทุกพืช ได้แก่ หอมแบ่ง กวางตุ้ง คะน้า กะหล่ าปลี และกะหล่ำดอก เพิ่มขึ้น 9.7 – 34.9 เปอร์เซ็นต์ ผลตอบแทนรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.2 – 1.9 จากทุกพืช ต้นทุนการผลิตเฉลี่ยลดลง 3.2 – 12.1 เปอร์เซ็นต์ และลดการใช้สารเคมีได้ 43 – 100 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับวิธีเกษตรกร มีกลุ่มเครือข่ายเกษตรกรผลิตไส้เดือนฝอยสายพันธุ์ไทยไว้ใช้เอง 13 กลุ่ม สมาชิก 270 ราย พื้นที่เพาะปลูก 482 ไร่ เกษตรกรได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยขอรับรองมาตรฐานการผลิตพืช ในปี 2560 จำนวน 130 ราย ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตพืช GAP และพืชอินทรีย์ ของกรมวิชาการเกษตร 84.6 และ 3.8 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   7_2560.pdf (ขนาด: 285.2 KB / ดาวน์โหลด: 510)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม