02-17-2017, 02:38 PM
การศึกษาห่วงโซ่อุปทานของซอสพริกในจังหวัดสุโขทัย
วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, อุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว, สุภาภรณ์ สาชาติ, จิดาภา สุภาผล, เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, รักชัย คุรุบรรเจิดจิต และนรินทร์ พูลเพิ่ม
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ, อุทัยวรรณ ทรัพย์แก้ว, สุภาภรณ์ สาชาติ, จิดาภา สุภาผล, เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, รักชัย คุรุบรรเจิดจิต และนรินทร์ พูลเพิ่ม
สถาบันวิจัยพืชสวน, ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2
ศึกษาห่วงโซ่อุปทาน การผลิตพริก เพื่อหาแนวทางในการวิจัยเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพริกเพื่อทำซอสพริกในจังหวัดสุโขทัยในปี 2556 โดยการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกและผู้รวบรวมพริก ใน 4 อำเภอ ที่มีการปลูกพริกสำหรับทำซอสพริกจำนวน 38 ราย โรงงานผู้ผลิตซอสพริก 1 โรงงาน จากการสำรวจเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพริกระหว่างเดือน พฤศจิกายน ถึง เมษายน ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้พื้นที่สำหรับปลูกพริก 2 - 4 ไร่ต่อราย และมีอายุระหว่าง 46 - 60 ปี พันธุ์ที่ปลูกถูกกำหนดโดยผู้รวบรวมและโรงงานผลิตซอสพริก โดยพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุด คือ พันธุ์แม่ปิง 8000 รองลงมาคือ พันธุ์เขียวมณี 26 และหยกสยาม แปลงของเกษตรกรที่มีการทำสัญญากับผู้รวบรวมจะเก็บเกี่ยวเมื่อพริกสุกสีแดงเพียงอย่างเดียว หลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรส่วนใหญ่จะบรรจุผลผลิตพริกในถุงตาข่ายขนาด 15 กิโลกรัม ราคาผลผลิตมีการประกันราคาทีกิโลกรัมละ 12 - 15 บาท ผลผลิตจะถูกส่งถึงโรงงานภายใน 12 ชั่วโมง โดยมีต้นทุนในการผลิตไร่ละ 20,425 บาท ปัญหาในการผลิตของเกษตรกรคือปัญหาการเข้าทำลายของโรคและแมลง ราคาผลผลิตต่ำ การขาดแคลนแรงงาน และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวสูงโดยจากต้นทุนทั้งหมดเป็นต้นทุนในการจ้างแรงงานสำหรับการเก็บเกี่ยวร้อยละ 59 ขณะที่ความต้องการของโรงงานซอสพริก ต้องการพริกที่มีความเผ็ดน้อย และต้องการผลผลิตพริกที่เป็นวัตถุดิบสามารถตรวจสอบที่มาย้อนกลับได้