วิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคกล้วยไม้
#1
การศึกษาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคในกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นการค้า
อภิรัชต์ สมฤทธิ์, ธารทิพย ภาสบุตร และทัศนาพร ทัศคร
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช 

          การศึกษาวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อรา Fusarium spp. สาเหตุโรคในกล้วยไม้ที่ปลูกเป็นการค้า ดำเนินการทดลองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2557 ที่กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช  และแปลงปลูกกล้วยไม้ของเกษตรกร ได้คัดเลือกเชื้อรา F. proliferatum จำนวน 1 ไอโซเลท ที่เป็นสาเหตุของโรคใบเน่าดำของกล้วยไม้สกุลหวาย มาเป็นเชื้อราในการศึกษา การทดสอบผลของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 5 ชนิด ได้แก่ carbendazim 50%WP,  chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. โดยการเลี้ยงเชื้อรา F. proliferatum บนอาหาร PDA ที่ผสมสารเคมี 5 ชนิด แล้วตรวจสอบอัตราการเจริญของเชื้อรา และเปรียบเทียบการเจริญของเชื้อราในอาหารผสมสารเคมีแต่ละชนิด กับกรรมวิธีการเลี้ยงบนอาหาร PDA ที่ไม่ได้ผสมสาร พบว่า สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 5 ชนิด ได้แก่ carbendazim 50%WP,  chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา F. proliferatum บนอาหาร PDA ได้ดี โดยสาร carbendazim 50%WP,  chlorothalonil 75%WP และ prochloraz 50%WP มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดีกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับ สารเคมี captan 80%WP และ captan 50%WP การทดสอบผลของสารสกัดจากพืช 4 ชนิด ได้แก่ สารสกัดจากเปลือกมังคุด, สารสกัดจากไพล, สารสกัดจากใบพลู และสารสกัดจากข่า ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Fusarium spp. ที่ทำให้เกิดโรคกับกล้วยไม้ในห้องปฏิบัติการ โดยการเลี้ยงเชื้อรา F. proliferatum บนอาหาร PDA ที่ผสมสกัดจากพืชที่ความเข้มข้นตั้งแต่ 100,000 – 500,000  ppm. แล้วตรวจสอบอัตราการเจริญของเชื้อรา และเปรียบเทียบการเจริญของเชื้อราในอาหารผสมสารสกัดจากพืชแต่ละชนิด กับกรรมวิธีการเลี้ยงบนอาหาร PDA ที่ไม่ได้ผสมสารสกัดจากพืช พบว่า หลังเลี้ยงเชื้อรา F. proliferatum บนอาหาร PDA ได้ 7 วัน เชื้อราเจริญบนอาหาร PDA ที่ไม่ผสมสารสกัดจากพืชได้ดีโดยเจริญเป็นปกติ สารสกัดจากพืชที่ 4 ชนิดในความเข้มข้น 100,000 ppm. ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา F. proliferatum ได้ ขณะที่สารสกัดจากพืช 4 ชนิด ในความเข้มข้นตั้งแต่ 200,000 – 500,000 ppm. สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อรา F. proliferatum ได้ โดยมีระดับการยับยั้งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่แตกต่างทางสถิติกับการเจริญของเชื้อราที่เลี้ยงบนอาหาร PDA ที่ไม่ได้ผสมสารสกัดจากพืช การทดสอบประสิทธาภาพของจุลินทรีย์ปฏิปักษ์คือ B. subtilis ได้แก่ สายพันธุ์ BS1, BS2, BS3 และ BS4 ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา F. proliferatum ในจานอาหารเลี้ยงเชื้อ  บนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA พบว่า B. subtilis สายพันธุ์ BS1, BS2 และ BS3 มีพื้นที่การยับยั้ง มากกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับ เชื้อ B. subtilis สายพันธุ์ BS 3 แต่เชื้อ B. subtilis ทั้ง 4 สายพันธุ์มีขนาดความกว้างของพื้นที่ยังยั้งการเจริญมากกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับ กรรมวิธีใช้น้ำเปล่าซึ่งเป็นวิธีเปรียบเทียบ การทดสอบเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการพัฒนาอาการโรคบนใบกล้วยไม้ ของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 5 ชนิด ได้แก่ carbendazim 50%WP, chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP ในอัตราเท่ากันคือ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับ สารสกัดจากพืช 4 ชนิด ได้แก่ สารสกัดจากเปลือกมังคุด, สารสกัดจากไพล, สารสกัดจากใบพลู และสารสกัดจากข่า ความเข้มข้น 200,000 ppm. และ จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis 4 สายพันธุ์ ได้แก่ BS1, BS2, BS3 และ BS4 โดยมีกรรมวิธีใช้น้ำเปล่า เป็นวิธีเปรียบเทียบ แล้วตรวจวัดขนาดของแผลโรคหลังจากพ่นสารตามกรรมวิธีต่าง ๆ ครบ 7 วัน พบว่า กรรมวิธีพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 5 ชนิด ได้แก่ carbendazim 50%WP,  chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการพัฒนาการเกิดโรคสูงกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีใช้สารสกัดจากพืช และกรรมวิธีใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis กรรมวิธีใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis 4 สายพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอาการโรคสูงกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีใช้สารสกัดจากพืช ทุกกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ใช้สารสกัดจากพืช และใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอาการโรคมากกว่ากรรมวิธีใช้น้ำเปล่าซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 0 เปอร์เซ็นต์ การทดสอบเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการพัฒนาอาการโรคบนส่วนของกล้วยไม้ที่ปลูกในสภาพโรงเรือน ของสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 5 ชนิด ได้แก่ carbendazim 50%WP, chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP ในอัตราเท่ากัน คือ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ร่วมกับสารสกัดจากพืช 4 ชนิด ได้แก่ สารสกัดจากเปลือกมังคุด, สารสกัดจากไพล, สารสกัดจากใบพลู และสารสกัดจากข่า ความเข้มข้น 200,000 ppm. และ จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis  4 สายพันธุ์ ได้แก่ BS1, BS2, BS3 และ BS4 โดยมีกรรมวิธีใช้น้ำเปล่า เป็นวิธีเปรียบเทียบ แล้วตรวจวัดขนาดของแผลโรคหลังจากพ่นสารตามกรรมวิธีต่าง ๆ ครบ 7 วัน พบว่า กรรมวิธีพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช 5 ชนิด ได้แก่ carbendazim 50%WP,  chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP เปอร์เซ็นต์การยับยั้งสูงกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการขยายของแผลในกรรมวิธีใช้สารสกัดจากพืช และกรรมวิธีใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis กรรมวิธีใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis 4 สายพันธุ์ มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอาการโรคสูงกว่าอย่างมีความแตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีใช้สารสกัดจากพืช ทุกกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช ใช้สารสกัดจากพืช และใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งอาการโรคมากกว่ากรรมวิธีใช้น้ำเปล่าซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง 0 เปอร์เซ็นต์ จากผลการทดลอง แสดงให้เห็นว่า สารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช carbendazim 50%WP, chlorothalonil 75%WP, prochloraz 50%WP, captan 80%WP และ captan 50%WP ในอัตราเท่ากัน คือ 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร มีประสิทธิภาพการกำจัดเชื้อรา F. proliferatum สาเหตุโรคใบไหม้ดำของกล้วยไม้บนส่วนของกล้วยไม้ในสภาพการปลูกในโรงเรือนได้ดีที่สุด รองลงมาเป็นการใช้เชื้อจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ B. subtilis (BS1, BS2, BS3 และ BS4) ส่วนการใช้สารสกัดจากเปลือกมังคุด, สารสกัดจากไพล, สารสกัดจากใบพลู และสารสกัดจากข่า ความเข้มข้น 200,000 ppm. มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดเชื้อราได้ในระดับต่ำสุด 


ไฟล์แนบ
.pdf   159_2557.pdf (ขนาด: 304.67 KB / ดาวน์โหลด: 1,075)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม