การปรับปรุงพันธุ์งาแดงเพื่อผลผลิตสูง : การเปรียบเทียบในท้องถิ่น
#1
การปรับปรุงพันธุ์งาแดงเพื่อผลผลิตสูง : การเปรียบเทียบในท้องถิ่น
ธำรง เชื้อกิตติศักดิ์, สมใจ โควสุรัตน์, จุไรรัตน์ หวังเป็น, สมพงษ์ ชมภูนุกูลรัตน์, ณัฐภัทร์ คำหล้า, เพ็ญรัตน์ เทียมเพ็ง และศิริวรรณ อำพันฉาย
ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี, ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ และศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์

          เพื่อให้ได้พันธุ์งาแดงที่ให้ผลผลิตสูง โดยคัดเลือกพันธุ์งาแดงจากแปลงเปรียบ เทียบพันธุ์มาตรฐานดำเนินการทดลองในปี 2556 - 2557 2 ฤดู คือ ต้นฤดูฝน และปลายฤดูฝน ใน 3 สถานที่ คือ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ วางแผนการทดลองแบบ RCB 3 ซ้ำ ขนาดแปลงย่อย 3 x 5 เมตร ปลูกงาแดงจำนวน 12 พันธุ์/สายพันธุ์ ใช้พันธุ์อุบลราชธานี 1 เป็นพันธุ์ตรวจสอบ ระยะปลูก 50 x 10 เซนติเมตร พื้นที่เก็บเกี่ยว 2 x 5 เมตร ผลการทดลองพบว่า ปี 2556 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ต้นฤดูฝนพันธุ์อุบลราชธานี 1 ให้ผลผลิตสูงที่สุด 74 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับอีก 9 พันธุ์/สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 65 - 51  กก./ไร่ ปลายฤดูฝนสายพันธุ์ SM197 ให้ผลผลิตมากที่สุด 37 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 7 พันธุ์/สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 30 - 19 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ ต้นฤดูฝนสายพันธุ์ NS171 ให้ผลผลิตสูงสุด 204 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับ 5 พันธุ์/สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิต 188 - 162 กก./ไร่ ปลายฤดูฝนสายพันธุ์ AT61 ให้ผลผลิตมากที่สุด 182 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 10 สายพันธุ์ ที่มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 130 - 175 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ต้นฤดูฝนสายพันธุ์ AT61 ให้ผลผลิตสูงที่สุด 269 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างทางสถิติกับอีก 7 พันธุ์/สายพันธุ์ ที่ให้ผลผลิตอยู่ระหว่าง 259 - 235 กก./ไร่ ปลายฤดูฝนสายพันธุ์ SM195 ให้ผลผลิตสูงที่สุด 244 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ และศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ พบปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุ์กับฤดู ดังนั้น ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีช่วงต้นฤดูฝน ได้แก่ NS171 อุบลราชธานี1 เกษตร อุบลราชธานี2 TRS9 และ SM296 ส่วนปลายฤดูฝน เกือบทุกสายพันธุ์ให้ผลผลิตดียกเว้นพันธุ์อุบลราชธานี 2 ส่วนที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ พันธุ์ที่ให้ผลผลิตดีต้นฤดูฝน ได้แก่ สายพันธุ์ AT61  SM195  SM196  SM197 NS171  RSMUB54-12 SM296 และ SM155 ส่วนปลายฤดูฝน ได้แก่ สายพันธุ์ SM195 NS171 SM155 เกษตร อุบลราชธานี 2 อุบลราชธานี 1 SM196 และ RSMUB54-12 ปี 2557 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ต้นฤดูฝนกระทบปัญหาฝนตกชุก ไม่สามารถดำเนินการได้ ปลายฤดูฝน สายพันธุ์ RSMUB54-12 ให้ผลผลิตมากที่สุด 53 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 8 สายพันธุ์/พันธุ์ ที่ให้ผลผลิตระหว่าง 52 - 36 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์ ต้นฤดูฝน สายพันธุ์ RSMUB54-12 ให้ผลผลิตสูงสุด 436 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับสายพันธุ์ SM195 และ SM196 ที่ให้ผลผลิต 356 และ 353 กก./ไร่ ตามลำดับ ปลายฤดูฝนสายพันธุ์ RSMUB54-12 ให้ผลผลิตมากที่สุด 245 กก./ไร่ แต่ไม่แตกต่างกับอีก 10 สายพันธุ์ ที่มีผลผลิตอยู่ระหว่าง 234 - 206 กก./ไร่ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ต้นฤดูฝนสายพันธุ์เกษตรให้ผลผลิตมากที่สุด 146 กก./ไร่ ไม่แตกต่างกับสายพันธุ์ AT61 ที่ให้ผลผลิต 126 กก./ไร่ ปลายฤดูฝนทุกพันธุ์ผลผลิตไม่แตกต่างกัน มีความแปรปรวนอยู่ระหว่าง 249 - 334 กก./ไร่ ข้อมูลผลผลิตไม่สามารถวิเคราะห์ความแปรปรวนรวมได้ เพราะข้อมูลไม่เป็นเอกภาพ (heterogeneity) เมื่อเฉลี่ยทั้งสองฤดูทั้ง 2 ปี ใน 3 สถานที่ พบว่ามีเพียง 2 สายพันธุ์ คือ SM196 และ RSMUB54-12 เท่านั้นที่มีผลผลิตมากกว่าพันธุ์อุบลราชธานี1 ทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตใกล้เคียงกับอุบลราชธานี 1 จำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ SM195 SM196  RSMUB54-12  AT61  NS171 และเกษตร เข้าเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   115_2557.pdf (ขนาด: 224.97 KB / ดาวน์โหลด: 451)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม