การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันตก
#1
การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
รพีพร ศรีสถิตย์ และคณะ 

โครงการที่ 1 โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในเขตภาคกลางและ ภาคตะวันตก
กุลวดี ฐาน์กาญจน์, นพพร ศิริพานิช, ชญาดา ดวงวิเชียร, ประสงค์ วงค์ชนะภัย, ไกรสิงห์ ชูดี, สุภาพร สุขโต, สมบัติ บวรพรเมธี, ช่ออ้อย กาฬภักดี, อุดม วงศ์ชนะภัย, สุรพล สุขพันธ์, อดุลรัตน์ แคล้วคลาด, เพทาย กาญจนเกสร, ศิริจันทร์ อินทร์น้อย, สุภัค แสงทวี, สมพร เหรียญรุ่งเรือง, จิรภา เมืองคล้าย, จุลศักดิ์ บุญรัตน์, สุกัญญา มัคคะวินทร์ และสุภานันทน์ จันทร์ประอบ

          โครงการวิจัยการทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในเขตภาคกลางและภาคตะวันตก ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2558 ที่แปลงเกษตรกรและที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรในจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อุทัยธานี นครปฐม และราชบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษและจุลินทรีย์ และเพื่อหาสูตรอาหารที่เหมาะสมในการผลิตผักแบบใช้สารละลายในสภาพโรงเรือนและระยะเวลาเก็บเกี่ยวต่างๆ ประกอบด้วย 3 กิจกรรม 17 การทดลอง โดยกิจกรรมที่ 1 เป็นการนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่ NPV, BT, ไส้เดือนฝอย, กับดักกาวเหนียว และการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและเหมาะสม มาใช้เปรียบเทียบกับกรรมวิธีของเกษตรกร ผลการทดสอบพบว่า คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง กะเพรา โหระพาถั่วฝักยาว มะระจีน มะเขือเปราะ ผักชีฝรั่ง ผักชีไทย ในกรรมวิธีทดสอบ ให้ผลผลิต รายได้ รายได้สุทธิ ค่า BCR สูงกว่ากรรมวิธีเกษตรกร และมีต้นทุนต่ำกว่า นอกจากนี้กรรมวิธีทดสอบยังพบสารพิษตกค้างในผลผลิตต่ำกว่ากรรมวิธีเกษตรกร ส่วนการตรวจวิเคราะห์หาจุลินทรีย์ปนเปื้อนพบว่า มีเชื้อ Escherichia coli ต่ำกว่า 10 cfu/g และไม่พบเชื้อ Salmonella spp. ทั้ง 2 กรรมวิธี กิจกรรมที่ 2 เป็นการศึกษาคุณภาพพืชผักเบื้องต้นในการผลิตแบบใช้สารละลายภายใต้โรงเรือน ผลการทดลองพบว่า ผักสลัดคอสและผักบุ้ง ในสูตรธาตุอาหาร Allen Cooper ให้ผลผลิต ความกว้างใบ ความยาวใบ ความสูงต้น และน้ำหนักเฉลี่ยสูงกว่าในสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ในขณะที่ผักกาดหอมและผักชีฝรั่งในสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ให้ความกว้างใบ ความสูงต้น ความกว้างทรงพุ่ม และน้ำหนักต่อต้นสูงกว่าในสูตรธาตุอาหาร Allen coolper สำหรับผักสลัดกรีนโอ๊คและผักชีไทยในสูตรธาตุอาหารทั้ง 2 สูตรให้ผลผลิต ความกว้างใบ ความยาวใบ ความสูงต้น และน้ำหนักเฉลี่ยใกล้เคียงกัน ส่วนในคะน้าและกวางตุ้ง สูตรธาตุอาหารของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา และสูตรธาตุอาหาร KMITL3 ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ วิธีให้น้ำเปล่าก่อนเก็บเกี่ยว 3 วัน สามารถลดปริมาณไนเตรทลงได้ และพบเชื้อ E. coli ต่ำกว่า 10 cfu/g และไม่พบเชื้อ Salmonella spp. ในทุกกรรมวิธี กิจกรรมที่ 3 คือ การวิจัยและทดสอบเทคโนโลยีการผลิตพืชผักโดยวิธีผสมผสานให้ปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ และแมลงศัตรูพืชในมะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ผักชีฝรั่ง และผักชีไทย โดยเปรียบเทียบระหว่างกรรมวิธีของเกษตรกรกับกรรมวิธีทดสอบ ที่มีการปูองกันกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานและปลูกในโรงเรือนกางมุ้ง ผลการทดสอบพบว่า มะเขือเปราะให้ผลผลิตนอกโรงเรือนดีกว่าการปลูกในโรงเรือน ส่วนถั่วฝักยาวพบว่า ผลผลิตในโรงเรือนดีกว่าการปลูกนอกโรงเรือน ในส่วนการวิเคราะห์สารพิษตกค้างและการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์พบว่า ทั้งสองกรรมวิธีไม่พบทั้งสารพิษตกค้างในผลผลิตและเชื้อ Salmonella spp. แต่พบเชื้อ E. coli ต่ำกว่า 10 cfu/g ส่วนผักชีฝรั่งพบว่า การใช้วิธีผสมผสาน (IPM) ในการดูแลรักษาแปลงผักชีฝรั่งอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงการผลิต ทำให้การเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชลดน้อยลง นอกจากนี้การใช้บิวเวอเรีย (Beauveria bassiana) ยังสามารถลดสารพิษตกค้างในผักชีฝรั่ง สำหรับผักชีไทยพบว่า ทั้งกรรมวิธีทดสอบและกรรมวิธีของเกษตรกรให้ผลผลิตและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ใกล้เคียงกัน แต่กรรมวิธีของเกษตรกรตรวจพบสารพิษตกค้าง 2 ชนิดคือ cypermethrin และ chorpyrifos ในปริมาณ 0.02 - 0.03 mg/kg

โครงการที่ 2 การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
รพีพร ศรีสถิตย์, สุทธินันท์ ประสาธน์สุวรรณ์, อมฤต วงษ์ศิริ, ศิริลักษณ์ พุทธวงศ์, ทิตากร ปานอินทร์, ศุภชัย อติชาติ, กุศล ถมมา, ปราณี วรเนตรสุดาทิพย์, ศิริวรรณ อำพันฉาย, วัชราพร ศรีสว่างวงศ์, อรัญญา ลุนจันทา, จารุพงศ์ ประสพสุข, มะนิต สารุณา, อุบล หินเธาว์, ปริยานุช สายสุพรรณ์, ชูศักดิ์ สัจจพงษ์ และหัทยา พรมโต

          การทดสอบเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตผักปลอดภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนแบ่งออกเป็น 5 การทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษที่เหมาะสมในสภาพการผลิตของเกษตรกร (กะหล่ำปลี หอมแบ่ง) และทดสอบเทคโนโลยีการผลิตโหระพา และขึ้นฉ่ายปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง ลดการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ (E. coli และ Salmonella spp.) และแมลงศัตรู ดำเนินงานในจังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และนครพนม ระหว่างปี 2554 - 57 ไม่มีแผนการทดลองดำเนินการในแปลงเกษตรกรโดยเกษตรกรร่วมดำเนินการ ใช้หลักการวิจัยระบบการทำฟาร์ม (Farming Systems Research) 5 ขั้น ขั้นตอนที่ 1 การเลือกพื้นที่เป้าหมายขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์พื้นที่ ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนการวิจัย ขั้นตอนที่ 4 การดำเนินการทดสอบ 2 กรรมวิธี1)กรรมวิธีทดสอบ : เป็นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานและการจัดการตาม GAP 2)กรรมวิธีเกษตรกร : เป็นการจัดการตามแบบเกษตรกรเคยปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 การขยายผล - ขนาดแปลงทดลอง 1 ไร่/แปลง เกษตรกร 2 - 5 ราย/การทดลอง ผลการทดลองพบว่า กะหล่ำปลี การจัดการศัตรูกะหล่ำปลี (หนอนใยผักและหนอนกระทู้ผัก) แบบผสมผสาน โดยใช้กับดักกาวเหนียวพยากรณ์การระบาด และการใช้เชื้อ BT และ NPV สลับกับการใช้สารเคมีชนิดสลายตัวเร็วไม่มีการตกค้างในผลผลิต สามารถควบคุมการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่เกิดการต้านทานสารเคมี และได้ผลผลิตที่สูงกว่าวิธีการเดิมของเกษตรกรและมีคุณภาพดีปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง หอมแบ่งการปูองกันกำจัดศัตรูพืชโดยปรับใช้วิธีการแบบผสมผสานเพื่อแก้ปัญหาโรคและแมลง ได้แก่ การไถตากดินก่อนปลูกร่วมกับการใช้ไตรโคเดอร์มา เพื่อแก้ปัญหาโรคหัวและรากเน่า ที่มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sclerotiumrolfsii Sacc. การตัดแต่งหัวพันธุ์และแช่น้ำอุ่นก่อนปลูก เพื่อแก้ปัญหาโรคราน้ำค้าง ที่เกิดจากเชื้อรา Peronospora destructor (Berk.) Casp. การติดตั้งกับดักกาวเหนียวสีเหลืองร่วมกับการตรวจนับกลุ่มไข่ เพื่อพยากรณ์การระบาดของหนอนกระทู้หอม และกำจัดด้วยไวรัส NPV เมื่อพบการระบาด ผลผลิตสูงกว่าวิธีเกษตรกร และไม่พบสารพิษตกค้าง ในผลผลิตโหระพา กรรมวิธีทดสอบควบคุมจัดการโดยวิธีผสมผสาน เช่น การใช้ไตรโคเดอร์มาราดหลังปลูกเพื่อปูองกันโรคเน่าจากเชื้อรา การใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลือง เพื่อพยากรณ์แมลงและลดปริมาณเพลี้ยไฟ ผลผลิตปลอดภัย ไม่แตกต่างจากวิธีเกษตรกร ขึ้นฉ่าย กรรมวิธีทดสอบใช้ปุ๋ยอินทรีย์หว่านรองพื้น พ่นเชื้อราไตรโคเดอร์มาเมื่อต้นกล้าอายุ 10 - 15 วัน พ่นปิโตรเลียมออยล์เพื่อควบคุมการระบาดของแมลงหวี่ขาวส่วนกรรมวิธีเกษตรกร พ่นสารอิมิดาคลอพริด พบว่า สามารถควบคุมการระบาดของแมลงหวี่ขาวได้ดีไม่แตกต่างกัน โดยที่ต้นทุนการผลิตใกล้เคียงกัน การแช่ขึ้นฉ่ายในสารละลายกรดอะซิติก 0.25% และสารละลายแคลเซี่ยมไฮโปคลอไรท์ 0.01% นาน 30 นาที สามารถลดการปนเปื้อนของเชื้อ Salmonella spp. และเชื้อ E. coli ได้การแช่ขึ้นฉ่ายที่ปนเปื้อนแมลงหวี่ขาวหรือเพลี้ยอ่อนในสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต 0.1% นาน 5 นาที สามารถกำจัดแมลงหวี่ขาวและเพลี้ยอ่อนได้ 100% เทคโนโลยีที่ได้ผลนี้ได้ทำการขยายผลไปยังเกษตรกรภายในกลุ่มและใกล้เคียงเพื่อนำไปปฏิบัต


ไฟล์แนบ
.pdf   218_2558.pdf (ขนาด: 661.6 KB / ดาวน์โหลด: 2,923)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม