การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัย
#1
การวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัย
สมชาย บุญประดับ, สุริยนต์ ดีดเหล็ก, บุญปิยธิดา คล่องแคล่ว, จิตอาภา ชมเชย, สุภชัย วรรณมณี, ปรีชา แสงโสดา, นพดล แดงพวง, ชนินทร์ ศิริขันตยากุล, ยงศักดิ์ สุวรรณเสน, ฉัตรสุดา เชิงอักษร, อารีรัตน์ พระเพชร, พรทิพย์ แพงจันทร์, บงการ พันธุ์เพ็ง, สุจิตร ใจจิตร, ไพบูรณ์ เปรียบยิ่ง, พิชิต สพโชค, ละเอียด ปั้นสุข, ประสงค์ วงศ์ชนะภัย, อานนท์ มลิพันธ์, จันทนา ใจจิตร, วินัย ศรวัต, จิราลักษณ์ ภูมิไธสง, อัจฉรา จอมสง่าวงศ์, อรณิชชา สุวรรณโฉม, สุนันท์ ถีราวุฒิ, กลอยใจ คงเจี้ยง และจิระ สุวรรณประเสริฐ
สำนักผู้เชี่ยวชาญ, ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรแม่ฮ่องสอน, ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรอุตรดิตถ์, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1, ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรสุโขทัย, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 4, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครสวรรค์, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง, สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี, ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง

          ประเทศไทยเกิดพิบัติภัยฉับพลันบ่อยครั้งและนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาดำนการเกษตรกรรมโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะระบบการปลูกพืช จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกพืชอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติ ทั้งพื้นที่ลาดชันที่เสี่ยงต่อดินถล่ม พื้นที่ลุ่มน้ำที่เสี่ยงต่อภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก และพื้นที่ชุ่มน้ำในทุกภูมิภาค วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้รูปแบบระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่เสี่ยงภัยทั้งพื้นที่ลาดชัน พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก และพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย โดยยึดหลักเกษตรยั่งยืน ผลการการศึกษาระบบการปลูกพืชในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มสรุปได้ว่า พื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนและภาคเหนือตอนล่าง ควรจัดระบบการปลูกพืชที่มีกาแฟอราบิก้าเป็นพืชหลักร่วมกับไม้ยืนต้น เพื่อเป็นร่มเงาถาวร เช่น แมคคาเดเมีย ไม้ผลต่างๆ และปลูกพืชเป็นแนวขวางความลาดชันเพื่อลดการพังทะลายของดิน ได้แก่ ชา สมุนไพร หญ้าแฝก พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้แก่ จังหวัดเลย ควรจัดระบบการปลูกพืชที่มีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชหลักร่วมกับพืชไร่ตระกูลถั่ว เช่น ถั่วนิ้วนางแดงร่วมกับการปลูกหญ้าแฝกขวางแนวลาดชันเพื่อลดการชะล้างของดิน พื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ได้จัดระบบการปลูกพืชที่มีมันสำปะหลังเป็นหลักร่วมกับพืชตระกูลถั่วร่วมกับการปลูกหญ้าแฝก และพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสตูล ควรจัดระบบการปลูกพืชไม้ผลแบบผสมผสาน และการปลูกพืชคลุมดินในสวนปาล์มน้ำมัน

          ได้ศึกษาระบบการปลูกพืชที่เหมาะสมในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในทุกภูมิภาคของประเทศ ได้ระบบการปลูกพืชอายุสั้นหลังน้ำลด ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้าวโพดฝักสด และพืชผักต่างๆ ยกเว้นจังหวัดสุโขทัยและนครศรีธรรมราช ได้จัดระบบการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยการยกร่องปลูกในพื้นที่น้ำท่วมและปลูกพืชผักอายุสั้นระหว่างแถวปาล์มในระยะแรก เพื่อเป็นรายได้เสริมในช่วงที่ปาล์มยังไม่ให้ผลผลิต และได้ดำเนินการศึกษาระบบการปลูกพืชในพื้นที่รับน้ำภาคกลาง (floodway) พบว่าระบบการปลูกพืชไร่อายุสั้นหลังน้ำลด ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง และข้าวโพดฝักสด เป็นระบบปลูกพืชที่เหมาะสม ยกเว้นจังหวัดปทุมธานีและนนทบุรี ใช้ระบบเกษตรผสมผสานโดยมีไม้ผลเป็นพืชหลัก โดยยกแปลงปลูกและเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริมและอาหารในครัวเรือน รวมทั้งมีการฟื้นฟูสวนส้มโอที่ถูกน้ำท่วมเสียหายบางส่วนโดยใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรในจังหวัดชัยนาทและนครปฐม และได้ดำเนินการสร้างสวนส้มโอใหม่ที่ชัยนาทและนครปฐม รวมทั้งสร้างสวนทุเรียนใหม่ที่นนทบุรี โดยการปลูกใหม่และมีการปลูกพืชอายุสั้นเสริมรายได้ ได้แก่ ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ มะละกอ กล้วยน้ำว้า ฯลฯ ในช่วงที่ไม้ผลยังไม่ให้ผลผลิต นอกจากนี้ได้สร้างฐานข้อมูลดิน อากาศ และพืช เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในแบบจำลองพืชสำหรับการจำลองการเจริญเติบโตและสร้างผลผลิตของพันธุ์พืชไร่อายุสั้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง และถั่วเขียวหลังนา เพื่อใช้ในระบบสนับสนุนการตัดสินใจในพื้นที่รับน้ำภาคกลาง 8 จังหวัด

          ผลการสำรวจความหลากหลายของพืชชุ่มน้ำในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง โดยทำการคัดเลือกชนิดพืชที่มีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ดำนการวิจัยพัฒนาและเศรษฐกิจของชุมชน พบว่า จังหวัดนราธิวาสได้ทำการคัดเลือกหลุมพีและบัว จังหวัดยะลาคัดเลือกผักน้ำ จังหวัดสงขลาคัดเลือกเหงือกปลาหมอ จังหวัดพัทลุงคัดเลือกกระจูด จังหวัดสงขลาคัดเลือกเหงือกปลาหมอ จังหวัดตรังคัดเลือกต้นจาก สำหรับการวิจัยและประเมินศักยภาพของพันธุ์บัวหลวงในพื้นที่ชุ่มน้ำภาคใต้ตอนล่าง ได้รวบรวมสายพันธุ์บัวหลวง จำนวน 45 สายพันธุ์ ไว้ในกระถางและท่อซีเมนต์รวมแล้วจำนวน 160 ท่อ และได้นำพันธุ์บัวที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตดี ลงปลูกบริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพัทลุง และทำการเปรียบเทียบในแปลงนาบัว จำนวน 2 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์แพร่ 45 กับพันธุ์ขาวสงขลา เพื่อประเมินผลผลิตดอกและเมล็ดต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   163_2558.pdf (ขนาด: 1.05 MB / ดาวน์โหลด: 1,830)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม