การปรับปรุงพันธุ์มะคาเดเมีย
#1
การปรับปรุงพันธุ์มะคาเดเมีย
พิจิตร ศรีปินตา

          โครงการปรับปรุงพันธุ์มะคาเดเมียประกอบด้วย 3 การทดลอง ได้แก่ 1. การศึกษาการทดสอบพันธุ์มะคาเดเมียในแหล่งต่างๆ ดำเนินการทดลอง 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) จ.เชียงใหม่ (1,300 เมตร) ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย จ.เลย (900 เมตร) ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ (750 เมตร) ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย (400 เมตร) ในปี 2555 - 2558 วางแผนการทดลองแบบ RCB 9 กรรมวิธี (พันธุ์) 10 ซ้ำ ได้แก่ MCL-829, 344, KW 86, CR7, 660, KK27, CR5, 741 และ FNG21 ดำเนินการปลูกมะคาเดเมียจำนวน 9 พันธุ์ 10 ซ้ำๆ ละ 1 ต้นต่อกรรมวิธี 4 แห่ง ตามระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลดังนี้ 1,300, 900, 750 และ 400 เมตร ระยะปลูก 8 x 6 เมตร ผลการทดลองในปี 2555 - 2558 พบว่า การเจริญเติบโตของต้นมะคาเดเมียทั้ง 4 แห่ง ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลที่แตกต่างกัน มะคาเดเมียมีการเจริญเติบโตทางลำต้นแตกต่างกัน โดยในพื้นที่ระดับความสูง 700 - 900 เมตร มะคาเดเมียมีการเจริญเติบโตดีในด้านเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย ความสูงเฉลี่ย และความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยดีที่สุด 2. การทดสอบพันธุ์มะคาเดเมียในภาคอีสานตอนล่างและภาคเหนือตอนล่าง ดำเนินการทดลอง 2 แห่ง ได้แก่ แปลงเกษตรกร จ.นครราชสีมา (อ.วังน้ำเขียว ความสูง 400 เมตรจากระดับน้ำทะเล) และแปลงเกษตรกร จ.ตาก (อ.แม่สอด ความสูง 400 เมตรจากระดับน้ำทะเล) ในปี 2555 - 2558 วางแผนการทดลองแบบ RCB 9 กรรมวิธี (พันธุ์) 10 ซ้ำ ได้แก่ A4, KK27, KW86, CR-7, 660, 849, CR-5, 741 และ FNG21 ดำเนินการปลูกมะคาเดเมียจำนวน 9 พันธุ์ 10 ซ้ำๆ ละ 1 ต้นต่อกรรมวิธี ระยะปลูก 8 x 6 เมตร ผลการศึกษาพบว่า แปลงเกษตรกร อ.แม่สอด จ.ตาก (400 เมตร) พันธุ์ CR-5 มีการเจริญเติบโตในด้านเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย ความสูงของลำต้นเฉลี่ย และความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยดีที่สุด สำหรับแปลงเกษตรกร อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา (400 เมตร) พบว่าการเจริญเติบโตของมะคาเดเมียสายพันธุ์ KW86 มีการเจริญเติบโตในด้านเส้นรอบวงโคนต้นเฉลี่ย ความสูงของลำต้นเฉลี่ย และความกว้างทรงพุ่มเฉลี่ยดีที่สุด และ 3. การอนุรักษ์และศึกษาเชื้อพันธุกรรมมะคาเดเมีย ดำเนินการทดลอง 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) จ.เพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูง (วาวี) จ.เชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย ในปี 2555 - 2558 ดำเนินการปลูกต้นมะคาเดเมียพันธุ์ต่างๆ จำนวน 1 - 5 ต้น/พันธุ์ หรือสายต้น บันทึกข้อมูล ลักษณะประจำพันธุ์แบบ IPGRI การเจริญเติบโต การออกดอก ติดผล ผลผลิตต่อต้น คุณภาพของเนื้อใน พื้นที่ปลูก 5 - 20 ไร่ จากผลการศึกษาพบว่า ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ มีการรวบรวมพันธุ์ทั้งหมดจำนวน 48 สายพันธุ์ โดยพันธุ์ Hy มีการเจริญเติบโตดีที่สุด แต่มะคาเดเมียออกดอกค่อนข้างน้อยหรือไม่มีการออกดอกติดผลศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ (เขาค้อ) จ.เพชรบูรณ์ รวบรวมพันธุ์ไว้ทั้งหมด 15 พันธุ์มีหลายสายพันธุ์ที่มีการเจริญเติบโตดีให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์แนะน า #741 และ #508 ได้แก่ สายพันธุ์ Daddow, A4, #849, KK6, KK7 ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย (วาวี) จ.เชียงราย รวบรวมพันธุ์ไว้ทั้งหมด 15 พันธุ์ พบว่าพันธุ์ A4 มีการเจริญเติบโตดีที่สุด และทุกพันธุ์มีการออกดอกติดผล และศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จ.เชียงราย มีการรวบรวมพันธุ์ทั้งหมดจำนวน 15 พันธุ์ พบว่าการเจริญเติบโต การออกดอกของพันธุ์ 788 มีเปอร์เซ็นต์การออกดอกมากที่สุด สำหรับการศึกษาคุณภาพของผลผลิตของแต่ละพันธุ์และสายต้นทุกสถานที่พบว่า บางพันธุ์หรือสายต้นมีคุณภาพของผลผลิตได้มาตรฐานหลักเกณฑ์ของคุณภาพมะคาเดเมียที่มีการค้าในระดับโลก


ไฟล์แนบ
.pdf   135_2558.pdf (ขนาด: 1.23 MB / ดาวน์โหลด: 2,592)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม