โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
#1
โครงการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง
ยงศักดิ์ สุวรรณเสน, สุวรรณ ทิพย์เมืองพรม และรุ่งทิวา ดารักษ์
ศูนย์วิจัยพืชไร่เพชรบูรณ์, ส านักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่2 และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก

          ทำการทดสอบเทคโนโลยีการผลิตยางพาราที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อแก้ปัญหาการผลิตที่พบในพื้นที่ คือ เกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องเทคโนโลยีการจัดการสวนยางอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งยางก่อนและหลังเปิดกรีด โดยยางก่อนเปิดกรีด พบปัญหาที่สำคัญ คือ การใส่ปุ๋ย ทั้งชนิดและอัตราไม่เหมาะสม การตัดแต่งกิ่งไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การจัดการระหว่างแถวยางโดยการปลูกพืชแซมหรือพืชคลุมมีน้อย ยางหลังเปิดกรีด พบปัญหาที่สำคัญ คือ การใส่ปุ๋ย ทั้งชนิดและอัตราไม่เหมาะสม กรีดต้นที่ไม่ได้ขนาด กรีดถี่ ขาดความชำนาญในการกรีด ปัญหาอาการเปลือกแห้ง โดยมีกิจกรรมดำเนินการสองกิจกรรม กิจกรรมที่หนึ่ง ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการร่นระยะเวลาการผลิตยางพาราพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและกิจกรรมที่สอง ทดสอบเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตยางพาราหลังการเปิดกรีดพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ได้ดำเนินการในพื้นที่สามจังหวัดได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก เพชรบูรณ์ และตาก กิจกรรมที่หนึ่งและสอง มีจำนวนเกษตรกร 4 รายต่อจังหวัด รายละ 5 ไร่ มีกรรมวิธี 2 กรรมวิธี แต่ละกรรมวิธีมีจำนวน 2 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน กรรมวิธีที่ 2 การใช้ปุ๋ยตามวิธีของเกษตรกร กิจกรรมที่หนึ่งพบว่า การเจริญเติบโตของต้นยางในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกวัดที่ระดับ 1.50 เมตร หลังจากใสปุ๋ยต้นยาง 24 เดือน กรรมวิธีที่หนึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 12.4 ซม. และกรรมวิธีที่สองมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 8.4 เซนติเมตร จังหวัดเพชรบูรณ์ กรรมวิธีที่หนึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้นมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 13.4 เซนติเมตร และกรรมวิธีที่สองมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 12.3 ซม. จังหวัดตาก กรรมวิธีที่หนึ่งมีขนาดเส้นรอบลำต้นมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย 11.0 เซนติเมตร และกรรมวิธีที่สองมีขนาดเส้นรอบลำต้นเพิ่มขึ้นจากเดิม เท่ากับ 10.5 เซนติเมตร ตามลำดับ กิจกรรมที่สองพบว่า ผลผลิตยางแผ่นของต้นยางในแปลงเกษตรกรจังหวัดพิษณุโลกให้ กรรมวิธีที่หนึ่งผลผลิตเฉลี่ยทั้งสองปีเท่ากับ 352 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่สอง ผลผลิตเฉลี่ย 307 กิโลกรัมต่อไร่ จังหวัดเพชรบูรณ์ กรรมวิธีที่หนึ่งผลผลิตเฉลี่ย 263 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่สอง ผลผลิตเฉลี่ย 244 กิโลกรัมต่อไร่ จังหวัดตาก กรรมวิธีที่หนึ่งผลผลิตเฉลี่ย 311 กิโลกรัมต่อไร่ และกรรมวิธีที่สอง ผลผลิตเฉลี่ย 278 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   284_2556.pdf (ขนาด: 297.19 KB / ดาวน์โหลด: 1,089)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม