ศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคลำต้นไหม้
#1
ศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดโรคพืชในการควบคุมโรคลำต้นไหม้
ศรีสุข พูนผลกุล และศิริพงษ์ คุ้มภัย
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาประสิทธิภาพของสารป้องกันกำจัดเชื้อรา Phytophthora capsici สาเหตุโรคลำต้นไหม้ของพริกในห้องปฏิบัติการและเรือนทดลอง กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช ระหว่างเดือนมกราคม 2552 ถึงเดือนกันยายน 2552 โดยใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช 11 ชนิด ที่มีรายงานว่าสามารถควบคุมเชื้อราในกลุ่มนี้ได้ การศึกษาในห้องปฏิบัติการ สารทดสอบ 4 ความเข้มข้นที่ 10, 50, 100 และ 500 ส่วนต่อล้านส่วน ผสมในอาหารเลี้ยงชื้อ PDA สารป้องกันกำจัดโรคพืชที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญของเส้นใยบนอาหาร 6 ชนิด ที่เลือกใช้ในการทดลองในเรือนทดลองได้แก่ Dimethomorph, Metalaxyl-mancozeb, Propineb+iprovalicarb, Azoxystrobin+difenoconazole, Ethaboxam และ Mycolbutanil ย้ายกล้าพริกอายุ 1 เดือนลงในกระถางขนาด 5 นิ้ว ปลูกเชื้อสาเหตุที่ความเข้มข้น 20,000 สปอร์ต่อมิลลิลิตร กระถางละ 15 มิลลิลิตรหลังย้ายปลูก 1 สัปดาห์ ราดสารป้องกันกำจัดโรคพืชที่ความเข้มข้น 50 และ 100 ส่วนต่อล้านส่วน ลงในกระถาง หลังการปลูกเชื้อระถางละ 10 มิลลิลิตร จำนวน 2, 4 และ 6 ครั้ง ห่างกันทุก 3 วัน ผลการทดลองในเรือนปลูกพืชพบว่า หลังการราดสารทดลอง 15 วัน คัดเลือกสารป้องกันกำจัดโรคพืช 3 ชนิด ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคลำต้นไหม้ของพริกที่ความเข้มข้น 50 และ 100 ส่วนต่อล้านส่วน คือ Metalaxyl + mancozeb, Ethaboxam และ Azoxystrobin+difenoconazole สำหรับใช้ในการทดลองในแปลงปลูกของเกษตรกรต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   1122_2552.pdf (ขนาด: 148.41 KB / ดาวน์โหลด: 612)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม