08-05-2016, 03:29 PM
ขยายผลการใช้ชุดควบคุมโรคเหี่ยวแบคทีเรียของมันฝรั่งในแปลงเกษตรกรโดยชีววิธี
วงศ์ บุญสืบสกุล, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, รุ่งนภา คงสุวรรณ์, สุรีย์พร บัวอาจ และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศบป. เชียงใหม่ อ.ฝาง จ. เชียงใหม่
วงศ์ บุญสืบสกุล, ณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล, ปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์, รุ่งนภา คงสุวรรณ์, สุรีย์พร บัวอาจ และวิวัฒน์ ภานุอำไพ
กลุ่มงานบักเตรีวิทยา กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศบป. เชียงใหม่ อ.ฝาง จ. เชียงใหม่
ได้ใช้เชื้อ DOA-WB4 ที่พัฒนาเป็นชุดสำเร็จ (Kit) ทดสอบการควบคุมโรคเหี่ยวในแปลงเกษตรกรพื้นที่ 300 ไร่ ระหว่างตุลาคม 2550 ถึงกันยายน 2551 ทำการทดลองการควบคุมโรคเหี่ยวแปลงเกษตรกรโดย คลุกเชื้อปฏิปักษ์กับหัวพันธุ์มันฝรั่งใช้เชื้อ 10(9) cfu ปริมาตร 50 ลิตร แล้วจึงนำไปปลูกในแปลงหรือพื้นที่ที่ตรวจพบเชื้อสาเหตุโรคเหี่ยวหรือเคยมีโรคนี้ระบาดมาก่อน แล้วรดเชื้อปฏิปักษ์โดยใช้เชื้อ 10(6) cfu ปริมาตรหลุมละ 5 ม.ล. จำนวน 2 ครั้ง เมื่อต้นมันฝรั่งอายุ 10 และ 25 วัน ตามลำดับ เปรียบเทียบการเกิดโรคกับแปลงของเกษตรกรแต่ละรายที่ไม่ได้ใช้เชื้อปฏิปักษ์พบว่า การใช้ชุดสำเร็จควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งเชื้อ DOA-WB4 ในแปลงเกษตรกร 50 ราย พื้นที่ 300 ไร่ ใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก เชียงราย ลำปาง ลำพูน และพระเยา พบว่า เชื้อ DOA-WB4 สามารถป้องกันการเกิดโรคเหี่ยวของมันฝรั่งได้ผลดีลดการเกิดโรคเหี่ยวได้ 0 - 80 % ปี 2552 พบว่า การใช้ชุดสำเร็จควบคุมโรคเหี่ยวของมันฝรั่งเชื้อ DOA-WB4 ในแปลงเกษตรกร 85 ราย พื้นที่ 1,200 ไร่ ใน 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ตาก เชียงราย ลำปาง ลำพูน พะเยา และหนองคาย พบว่า เชื้อ DOA-WB4 สามารถป้องกันการเกิดโรคเหี่ยวของมันฝรั่งได้ผลดีลดการเกิดโรคเหี่ยวได้ 0 - 80 % มีเกษตรกร 22 รายที่พบว่า การควบคุมโรคโดยใช้สำเร็จดังกล่าวไม่แตกต่างจากการไม่ใช้ซึ่งจากการได้ติดตามประเมินผลและสัมภาษณ์เกษตรกรพบว่า ไม่พบการระบาดของโรคเหี่ยวจึงไม่พบความแตกต่าง มีเกษตรกร 21 รายที่เห็นว่าเชื้อใช้เชื้อปฏิปักษ์ดังกล่าวไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ เนื่องจากเกษตรกรใช้หัวพันธุ์ที่เป็นโรคและการเชื้อในอาหารนมได้ไเชื้อปฏิปักษ์ไม่มากพอที่จะนำไปใช้ควบคุมโรคเหี่ยวได้ซึ่งจะได้ศึกษาหาวิธีแก้ไขต่อไป