08-04-2016, 03:38 PM
วิจัยการใช้หนอนตายหยากและหางไหลเพื่อกำจัดหนูศัตรูพืช
กรแก้ว เสือสะอาด, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ทรงทัพ แก้วตา, รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา และพรรณีกา อัตตนนท
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร
กรแก้ว เสือสะอาด, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ทรงทัพ แก้วตา, รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา และพรรณีกา อัตตนนท
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร
ระหว่างเดือนตุลาคม2551 – กันยายน 2552 ทดสอบความเป็นพิษของสารสกัดหนอนตายหยาก DOA กับหนูพุกใหญ่ โดยสุ่มให้หนอนตายหยาก DOA (4.78 % alkaloid) อัตรา 100, 120, 140, 180 และ 240 พีพีเอ็ม และน้ำกลั่นเป็นตัวเปรียบเทียบกับหนูพุกใหญ่ที่ดักมาจากสภาพไร่อัตราละ 10 ตัว โดยให้สารละลายหนอนตายหยากทางปากลงสู่กระเพาะ ผลการทดสอบสารสกัดหนอนตายหยากอัตรา 100, 120, 140, 180 และ 240 พีพีเอ็ม มีผลทำให้หนูพุกใหญ่ตาย 30, 40, 40, 50 และ 100 % ตามลำดับ และค่าความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของหนอนตายหยากกับหนูพุกใหญ่มีค่า 142.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (Table1, 2 และ Figure1) เมื่อทดสอบให้สารสกัดหนอนตายหยากอัตรา 100, 170 และ 200 พีพีเอ็มกับหนูท้องขาวบ้านมีผลทำให้หนูท้องขาวบ้านตาย 40, 50, 50 % ตามลำดับ และไม่มีหนูตายในกลุ่มเปรียบเทียบ แต่ยังไม่สามารถสรุปผลการทดลองได้จึงได้ดำเนินการต่อในปี 2553