10-30-2015, 10:40 AM
ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก (pre-emergence) และหลังงอก (post-emergence) ในสับปะรด
สิริชัย สาธุวิจารณ์, มัลลิกิกา นวลแก้ว, จรรยา มณีโชติ และอมรา ไตรศิริ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5
1) การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 10 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช tebuthiuron + pendimethalin, flumioxazin, pendimethalin + diuron, hexaxinone/diuron, alachlor + diuron, pendimethalin + dimethenamid และ tebuthiuron + oxyfluorfen อัตรา 125+165, 20, 165+320, 600, 320+320, 165+225 และ 125+24 กรัมสารออกฤทธิ์ตอไร่ ตามลำดับ ก่อนการปลูกสับปะรด และการพ่นสารกำจัดวัชพืช metribuzin และ bromacil + diuron อัตรา 140 และ 560+560 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ หลังจากปลูกสับปะรด และกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช bromacil + diuron สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และสารกำจัดวัชพืชไม่เป็นพิษต่อสับปะรด วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้คือ หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.). Scop.) หญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachya Stapf.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) และผักยาง (Euphorbia heterophylla L.)
สิริชัย สาธุวิจารณ์, มัลลิกิกา นวลแก้ว, จรรยา มณีโชติ และอมรา ไตรศิริ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5
การทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอกและหลังงอกในสับปะรด เพื่อหาสารกำจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพควบคุมวัชพืช ประหยัด ปลอดภัย ลดต้นทุนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตสับปะรด ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2554 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี กรมวิชาการเกษตร จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 2 การทดลอง คือ
1) การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 10 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช tebuthiuron + pendimethalin, flumioxazin, pendimethalin + diuron, hexaxinone/diuron, alachlor + diuron, pendimethalin + dimethenamid และ tebuthiuron + oxyfluorfen อัตรา 125+165, 20, 165+320, 600, 320+320, 165+225 และ 125+24 กรัมสารออกฤทธิ์ตอไร่ ตามลำดับ ก่อนการปลูกสับปะรด และการพ่นสารกำจัดวัชพืช metribuzin และ bromacil + diuron อัตรา 140 และ 560+560 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ ตามลำดับ หลังจากปลูกสับปะรด และกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช bromacil + diuron สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และสารกำจัดวัชพืชไม่เป็นพิษต่อสับปะรด วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้คือ หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.). Scop.) หญ้าขนเล็ก (Brachiaria distachya Stapf.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) และผักยาง (Euphorbia heterophylla L.)
2) การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 10 กรรมวิธี คือ การพ่นสารกำจัดวัชพืช ametryn, ametryn, bromacil, bromacil, bromacil + ametryn, bromacil + diuron, bromacil + atrazine, bromacil + diuron+ametryn และ diuron + ametryn อัตรา 512, 400, 550, 400, 400+400, 400+400, 400+400, 400+400+400 และ 400+400 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ และกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช
ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช bromacil + atrazine และ bromacil + diuron+ametryn สามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และสารกำจัดวัชพืชไม่เป็นพิษต่อสับปะรด วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้ากินนี (Panicum maximum) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) ครามขน (Indigofera hirsute L.) สาบม่วง (Praxelis clematidea R.M. King) และผักยาง (Euphorbia heterophylla L.)