ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย
#1
ศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย
สิริชัย สาธุวิจารณ์, อุดมศักักดิ์ ดวนมีสุข, จรรยา มณีโชติ, วนิดา ธารถวิล และตรียนัย ตุงคะเสน
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุพรรณบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรที่ 5 และกลุ่มบริหารโครงการวิจัย สถาบันวิจัยพืชไร่

          การศึกษาการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยในอ้อย เพื่อให้ได้วิธีการจัดการวัชพืชประเภทเถาเลื้อยที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย ลดตนทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดลอมในการผลิตอ้อย ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2554 ณ แปลงเกษตรกรผูปลูกอ้อย ตำบลพระแท่นดงรัง อำเภอพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ มี 10 กรรมวิธี ไดแก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช 2,4-D, hexazinone, paraquat, triclopyr, glyphosate, fluroxypyr, glyphosate + 2,4-D และ glufosinate ammonium อัตรา 200, 200, 200, 150, 220, 32, 220+240 และ 150 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีกำจัดวัชพืชดวยแรงงานและกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ปฏิบัติและดูแลรักษาอ้อยที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืช ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชพบว่า สารกำจัดวัชพืช paraquat สามารถควบคุมวัชพืชไดดี และเป็นพิษต่ออ้อยเล็กนอย วัชพืชเถาเลื้อยที่สามารถควบคุมได้ คือ สะอึก (Ipomoea gracillis R. Br.) กระทกรก (Passiflora foetida L.) จิงจอดอกขาว (Operculina turpethum (L.) Sativa Manso.) และตดหมูตดหมา (Paedaria foetida L.)


ไฟล์แนบ
.pdf   1976_2554.pdf (ขนาด: 109.32 KB / ดาวน์โหลด: 2,797)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม