การปรับปรุงพันธุ์มันเทศเพื่อการบริโภคสด
#1
การปรับปรุงพันธุ์มันเทศเพื่อการบริโภคสด
รักชัย คุรุบรรเจิดจิต, ณรงค์ แดงเปี่ยม, กำพล เมืองโคมพัส, เพ็ญจันทร์ สุทธานุกูล, ทัศนัย เพิ่มสัตย์ และพรรณผกา รัตนโกศล
ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

          ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้ปรับปรุงพันธุ์มันเทศให้ได้สายพันธุ์ใหม่ที่ผลผลิตสูงขึ้น คุณภาพบริโภคดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยผสมข้ามพันธุ์มันเทศที่มีลักษณะดีท้ังในและต่างประเทศ ปลูกและคัดเลือกพันธุ์ลูกผสมตามเกณฑ์กำหนด หลังเปรียบเทียบและคัดเลือกทำให้ได้ 6 สายพันธุ์ หลังทดสอบพันธุ์ใน 3 แหล่งปลูก ทำให้ได้สายพันธุ์ดีเด่น 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์สท.03 สท.10 และ สท.18 เมื่อนำท้ัง 3 สายพันธุ์ ไปทดสอบร่วมกับพันธุ์ท้องถิ่นในไร่เกษตรกร 6 แห่ง ทำให้ได้พันธุ์ที่โดดเด่น 2 สายพันธุ์ คือ 1) สายพันธุ์สท.03 ที่เจริญเติบโตเร็วและคลุมพื้นที่หรือวัชพืชได้ดี ทนทานต่อด้วงงวงมันเทศผิวเปลือกสีขาว เนื้อเมื่อสุกสีเหลือง เนื้อเหนียวนุ่ม รสชาติดี ผู้บริโภคยอมรับสูง ผลผลิตเฉลี่ยในการทดสอบพันธุ์ 3,884 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตเฉลี่ยในแปลงเกษตรกร 1,619 กิโลกรัมต่อไร่ 2) สายพันธุ์สท.18 ที่เจริญเติบโตดี ผิวเปลือกสีแดง เนื้อเมื่อสุกสีเหลือง เนื้อเหนียวละเอียด รสหวาน รสชาติดี ผู้บริโภคยอมรับสูง มีสารสำคัญเบต้าแคโรทีน 480 ไมโครกรัมต่อมันเทศ 100 กรัม มีโปรตีน 1.2 กรัมต่อมันเทศ 100 กรัม ผลผลิตเฉลี่ยในการทดสอบพันธุ์ 2,900 กิโลกรัมต่อไร่ และผลผลิตเฉลี่ยในแปลงเกษตรกร 1,727 กิโลกรัมต่อไร่ สายพันธุ์ สท.03 และ สท.18 เหมาะสมสำหรับแนะนำให้เกษตรกรปลูกต่อไป


ไฟล์แนบ
.pdf   7_2558.pdf (ขนาด: 598.51 KB / ดาวน์โหลด: 1,737)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม