การศึกษาวิธีการพรวนดินระหว่างแถวอ้อย เพื่อเก็บความชื้นของดินชั้นล่าง
#1
การศึกษาวิธีการพรวนดินระหว่างแถวอ้อย เพื่อเก็บความชื้นของดินชั้นล่าง
วัฒนศักดิ์ ชมภูนิช, อรรถสิทธิ์ บุญธรรม, นริศร ขจรผล, วัลลิภา สุชาโต และยงยุทธ เขียวชะอุ่ม

          การศึกษาวิธีการพรวนดินระหว่างแถวอ้อย เพื่อเก็บรักษาความชื้นของดินชั้นล่างในไร่เกษตรกรเขตน้ำฝน ต.ด่านทับตะโก อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ถึงกุมภาพันธ์ 2551 เป็นอ้อยตอ 1 วางแผนการทดลองแบบ Split plot Design มี 3 ซ้ำ ซึ่งมี Main plot เป็นระยะปลูก 2 ระยะ คือ 1.50 เมตร และ1.30 เมตร และมี Sub plot เป็นกรรมวิธี 6 กรรมวิธี 1) ใช้ระยะปลูก 1.50 เมตร ใช้จอบหมุนพรวนดิน 2) ใช้ริปเปอร์และจอบหมุน 3) ใช้ระยะปลูก 1.30 เมตร ใช้จอบหมุนพรวนดิน 4) ใช้ริปเปอร์และจอบหมุน 5) ใช้ระยะปลูก1.50 เมตร ไม่มีการพรวนดิน 6) ใช้ระยะปลูก 1.30 เมตร ไม่มีการพรวนดิน

          เปอร์เซ็นต์หลุมงอกของอ้อยตอ 1 เมื่ออายุ 2 เดือนหลังเก็บเกี่ยวพบว่า วิธีการที่ 3 อ้อยมีความงอกดีที่สุดเฉลี่ย 90.62 % และวิธีการที่ 1 มีความงอกต่ำสุดเฉลี่ย 74.65 % ความสูงของต้นอ้อยเมื่ออายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน มีแนวโน้มว่าวิธีการที่ 1 อ้อยจะมีความสูงของต้นสูงสุดเฉลี่ย 335.83 เซนติเมตร รองลงมา คือ วิธีการที่ 2 อ้อยมีความสูงเฉลี่ย 324.00 และวิธีการที่ 3 อ้อยมีความสูงต่ำสุดเฉลี่ย 319.00 เซนติเมตร ตามลำดับ และขนาดของลำในวิธีการที่ 1 และ 2 อ้อยมีขนาดของลำใหญ่ที่สุดเฉลี่ย 3.03 และ 2.97 เซนติเมตร ตามลำดับ และวิธีการที่ 3 อ้อยมีขนาดของลำเล็กสุดเฉลี่ย 2.81 เซนติเมตร จำนวนลำ/ไร่เมื่ออายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน มีแนวโน้มว่า อ้อยในวิธีการที่ 1 จะมีจำนวนลำ/ไร่สูงสุดเฉลี่ย 9,430 ลำ/ไร่ รองลงมาคือ วิธีการที่ 3 มีจำนวนลำเฉลี่ย 9,348 ลำ/ไร่และวิธีการที่ 2 มีจำนวนลำน้อยที่สุดเฉลี่ย 8,812 ลำ/ไร่ น้ำหนักผลผลิตต่อไร่ เมื่ออายุเก็บเกี่ยว 12 เดือน มีแนวโน้มว่าวิธีการที่ 1 อ้อยมีน้ำหนักผลผลิตสูงสุดเฉลี่ย 13.95 ตัน/ไร่ รองลงมาวิธีการที่ 3 อ้อยมีน้ำหนักผลผลิตเฉลี่ย 13.62 ตัน/ไร่และวิธีการที่ 2 อ้อยมีน้ำหนักผลผลิตต่ำสุดเฉลี่ย 12.86 ตัน/ไร่ ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   886_2551.pdf (ขนาด: 951.52 KB / ดาวน์โหลด: 699)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม