วิจัยปริมาณสารพิษตกค้าง Imidacloprid ในมะม่วงเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง
#1
วิจัยปริมาณสารพิษตกค้าง Imidacloprid ในมะม่วงเพื่อกำหนดค่าปริมาณสูงสุดของสารพิษตกค้าง ครั้งที่ 3 และ 4
ลักษมี เดชานุรักษ์นุกูล, ศศิมา มั่งนิมิตร์ และวิทยา บัวศรี

          ศึกษาวิจัยปริมาณสารพิษตกค้างของอิมิดาคลอพริดในมะม่วงน้ำดอกไม้ หลังการใช้สารพิษอย่างถูกต้องและเหมาะสม (GAP) โดยวางแผนทดลองแบบ RCB มี 3 ซ้ำ แบ่งเป็น 2 การทดลองย่อย คือ ไม่ใช้วัตถุมีพิษ (ฉีดพ่นด้วยน้ำเปล่า) และใช้วัตถุมีพิษ อิมิดาคลอพริด 10% w/v SL ตามอัตราแนะนำ 5 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร (0.09-0.21 กรัมai/ต้น) ทำการฉีดพ่นสารพิษอิมิดาคลอพริด ทุก 7 วัน รวม 4 ครั้ง แล้วเก็บตัวอย่างมาวิเคราะห์ในวันที่ 0, 1, 3, 5, 7, และ 10 วัน หลังการใช้สารครั้งสดุท้ายโดยทำการทดลอง 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 อ.เมือง จ.ราชบุรี ทำการทดลองในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2551 ครั้งที่ 4 อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ทำการทดลองในเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์ 2551 ผลการวิเคราะห์สารพิษอิมิดาคลอพริด และ 6-chloronicotinic acid ของการทดลองครั้งที่ 3 และ 4 พบว่าตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่างในแปลงที่ไม่ใช้วัตถุมีพิษ ส่วนแปลงทดลองที่ใช้วัตถุมีพิษตามอัตราแนะนำครั้งที่ 3 และ 4 ตรวจพบไม่พบสารพิษตกค้างภายหลังการฉีดพ่นครั้งสุดท้ายในอัตราแนะนำในวันที่ 0, 1, 3, 5, 7, และ 10 วัน ตามลำดับ สุ่มเก็บตัวอย่างมะม่วงน้ำดอกไม้ตามแหล่งผลิต มะม่วงเพื่อการส่งออก และแหล่งจำหน่ายจำนวน 51 ตัวอย่าง เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารพิษตกค้าง กลุ่ม Organophosphates Pyrethriods endosulfan carbendazim และ imidacloprid โดยตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Gas Chromatograph (GC) และ High Performance Liquid Chromatograph (HPLC) ผลการวิเคราะห์ ตรวจไม่พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่างของมะม่วงจากแหล่งผลิต แหล่งจำหน่าย และมะม่วงเพื่อการส่งออก 


ไฟล์แนบ
.pdf   934_2551.pdf (ขนาด: 1.84 MB / ดาวน์โหลด: 1,118)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม