การคัดเลือกสารเคมีและสารสกัดจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่สำคัญในมะเขือเปราะ
#1
การคัดเลือกสารเคมีและสารสกัดจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่สำคัญในมะเขือเปราะ
สัญญาณี ศรีคชา, อัจฉรา หวังอาษา และอุราพร หนูนารถ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีและสารสกัดจากพืชในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูที่สำคัญในมะเขือเปราะ ดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาวในแปลงมะเขือเปราะของเกษตรกรที่ ตำบลตลาดจินดา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และตำบลบึงคำพร้อย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยทำการทดสอบ 2 ครั้ง คือ ระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2554 และระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2555 โดยวางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่ 1 พ่นสาร dinotefuran 10% SL (สตาร์เกิล SL) กรรมวิธีที่ 2 พ่นสาร imidacloprid 70% WP (โปรวาโด) กรรมวิธีที่ 3 พ่นสาร thiamethoxam 25% WG (แอคคารา 25 WG) กรรมวิธีที่ 4 พ่นสาร buprofezin 40% SC (นาปาม SC) กรรมวิธีที่ 5 พ่นสาร imidacloprid 70% WP (โปรวาโด) + white oil 67% EC (ไวท์ออยล์) กรรมวิธีที่ 6 พ่นสาร white oil 67% EC (ไวท์ออยล์) กรรมวิธีที่ 7 พ่นสาร fipronil 5% SC (แอสเซ็นต์) สารเปรียบเทียบ และกรรมวิธีที่ 8 ไม่พ่นสาร จากการทดสอบพบว่า สาร buprofezin 40% SC (นาปาม SC) อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร และสาร dinotefuran 10% SL อัตรา 15 มล./น้ำ 20 ลิตร มีแนวโน้มที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดแมลงหวี่ขาว โดยควรพ่นติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง ทุก 7 วัน รองลงมา white oil 67% EC (ไวท์ออยล์) อัตรา 100 มล./น้ำ 20 ลิตร และควรพ่นติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง ทุก 7 วัน
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม