การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมวัชพืชเถาเลื้อยในโรงเรือน
#1
การศึกษาประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมวัชพืชเถาเลื้อยในโรงเรือน
จรัญญา ปิ่นสุภา และคมสัน นครศรี
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การทดลองประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืช aminocyclopyrachlor 50% SG, paraquat 27.6% SL, glyphosate 48% SL, glufosinate ammonium 15% SL, triclopyr 66.8% EC, fluroxypyr 28.8% EC, 2,4-D 84% SL และ 2,4-D 45.2% + picloram 11.6% SL อัตรา 20, 120, 480, 240, 64, 64, 240 และ 318.08 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช เพื่อกำจัดวัชพืชเถาเลื้อย จิงจ้อเหลี่ยม (Operculina turpethum (L.) silva Manso) และสะอึก (Ipomoea obscura (L.) Ker Gawl.) วางแผนการทดลองแบบ Factorial 2 x 8 in RCBD 3 ซ้ำ ดำเนินการทดลอง ในเรือนทดลองกลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ทำการทดลองในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2555 ผลการทดลองพบว่า aminocyclopyrachlor, triclopyr, 2,4-D และ 2,4-D + picloram สามารถควบคุมวัชพืช จิงจ้อเหลี่ยมและสะอึกได้ดี แต่ glyphosate, glufosinate ammonium และ fluroxypyr สามารถควบคุมวัชพืชสะอึกได้ดี แต่ไม่สามารถควบคุมวัชพืชจิงจ้อเหลี่ยม ส่วน paraquat ไม่สามารถควบคุมวัชพืชเถาเลื้อยทั้งสองชนิดนี้ ในปี 2556 นำสารกำจัดวัชพืชที่สามารถควบคุมวัชพืชเถาเลื้อย ทดสอบในแปลงอ้อยของเกษตรกร อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา วางแผนการทดลองแบบ Factorial 2 x 5 in RCBD 4 ซ้ำ aminocyclopyrachlor, triclopyr, 2,4-D และ 2,4-D + picloram อัตรา 20, 64, 64, 240 และ 318.08 กรัมสารออกฤทธิ์ต่อไร่ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ผลการทดลองพบว่า สามารถควบคุมวัชพืชเถาเลื้อยได้ดี ไม่เป็นพิษต่ออ้อย และไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิต เมื่อเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสารกำจัดวัชพืช
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 5 ผู้เยี่ยมชม