ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกุหลาบและหนอนผีเสื้อศัตรูกุหลาบ
#1
ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกุหลาบและหนอนผีเสื้อศัตรูกุหลาบ
ศรีจำนรรจ์ ศรีจันทรา, วรวิช สุดจริตธรรมจริยางกูล, อัจฉรา หวังอาษา, วิภาดา ปลอดครบุรี และอุราพร หนูนารถ
กลุ่มบริหารศัตรูพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟกุหลาบ ดำเนินการในแปลงกุหลาบของเกษตรกร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม และพฤศจิกายน ธันวาคม 2555 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 8 กรรมวิธี ดังนี้ กรรมวิธีที่พ่นสาร spinetoram (Exalt 12 %W/V SC) อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร emamectin benzoate (Proclaim 019 EC 1.92% EC) 20 มล./น้ำ 20 ลิตร thiamethoxam/lambdacyhalothrin (Efforia 247 ZC 14.1%/10.6% ZC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20ลิตร fipronil (Ascend 5% SC) อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร benfuracarb (Oncol 20%EC) อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร imidacloprid (Confidor 100SL 10% SL) อัตรา 20 มล./น้ำ 20 ลิตร และกรรมวิธีไม่พ่นสาร พบว่าสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพดีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟในกุหลาบ ได้แก่ สารกลุ่ม spinosyns คือ spinetoram 12 %W/V SC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการควบคุม 75 - 95 % สามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้นาน 7 วัน ส่วนสารในกลุ่ม phenyl pyrazole คือ fipronil 5%SC อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร พบว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดดีในบางแหล่งปลูกโดยแหล่งปลูกที่ อ.หนองหญ้าไทร จ.สุพรรรณบุรี แสดงผลในการป้องกันกำจัดได้ดีถึง 78 - 98% สามารถควบคุมเพลี้ยไฟได้นาน 7 วัน แต่ในแหล่งปลูก อ.เมือง จ.นครปฐม แสดงผลในการป้องกันกำจัดได้ไม่ดีเท่าที่ควรเพียง 60 - 70%

          การทดสอบหาอัตราพ่นที่เหมาะสมในกุหลาบ ดำเนินการในแปลงกุหลาบของเกษตรกร อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เดือนเมษายน 2556 วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 4 ซ้ำ 5 กรรมวิธี ดังนี้ พ่นสารฆ่าแมลง spinetoram 12 %W/V SC อัตรา 10 มล./น้ำ 20 ลิตร ที่อัตราพ่น 100, 120, 140 และ 160 ลิตร/ไร่ เปรียบเทียบกับกรรมวิธีไม่พ่นสารพบว่า อัตราพ่นสารฆ่าแมลงที่เหมาะสม 120 ลิตรต่อไร่ สามารถลดปริมาณสารฆ่าแมลงที่ใช้ลง 25 %
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 4 ผู้เยี่ยมชม