พัฒนาการเพาะเลี้ยงและศักยภาพการเป็นตัวห้ำของผีเสื้อตัวห้ำ Spalgis sp.
#1
พัฒนาการเพาะเลี้ยงและศักยภาพการเป็นตัวห้ำของผีเสื้อตัวห้ำ Spalgis sp. (Lepidoptera: Lycaenidae)
ประภัสสร เชยคำแหง, รจนา ไวยเจริญ และรัตนา นชะพงษ์
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          พัฒนาการเพาะเลี้ยง และศักยภาพการเป็นตัวห้ำของผีเสื้อตัวห้ำ Spalgis epius ได้ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมผีเสื้อตัวห้ำจากแหล่งที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง ระหว่างเดือนธันวาคม 2554 ถึงกันยายน 2555 พบผีเสื้อตัวห้ำ S. epius ในระยะตัวเต็มวัย 5 ตัว เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 4 ตัว ระยะตัวหนอน จำนวน 172 ตัว และระยะดักแด้ จำนวน 37 ดักแด้ ในพืช 6 ชนิด คือ มันสำปะหลัง น้อยหน่า ชบา มะเขือยาว มะม่วง และวัชพืช สำรวจใน 2 จังหวัด คือ นครราชสีมา และนครปฐม ศึกษาชีววิทยาของ ผีเสื้อตัวห้ำ S. epius ระยะไข่ มีรูปร่างค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อน ใกล้ฟักจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวขุ่น ไข่มีอายุ 3 - 5 วัน ระยะตัวอ่อนมี 4 ระยะ ตัวอ่อนมีอายุ 10-13 วัน ระยะก่อนเข้าดักแด้ จะมีลักษณะเหมือนตัวอ่อนระยะที่ 4 แต่ไม่เคลื่อนไหว มีระยะเวลาประมาณ 1 - 2 วัน ระยะดักแด้มีอายุประมาณ 7 - 9 วัน ค่าเฉลี่ยระยะไข่ ระยะตัวหนอน (มี 4 ระยะ) ระยะก่อนเข้าดักแด้ และระยะดักแด้ เป็น 4.2 ± 0.77 11.45 ± 1.32 1 ± 0.18 และ 8 ± 0.79 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อกลางวันขนาดเล็ก รวมระยะไข่ถึงระยะดักแด้เฉลี่ย 24.72 ± 2.04 ประมาณ 22 - 29.5 วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   68_2556.pdf (ขนาด: 501.34 KB / ดาวน์โหลด: 1,363)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม