การวิจัยพัฒนาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมถั่วเหลืองเพื่อให้ศักยภาพการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม
#1
การวิจัยพัฒนาปุ๋ยชีวภาพไรโซเบียมถั่วเหลืองเพื่อให้ศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ศิริลักษณ์ จิตรอักษร และศฬิษา สังวิเศษ
กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          แยกบริสุทธิ์ไรโซเบียมจากดินแหล่งปลูกถั่วเหลืองและสุ่มเลือก 3 ไอโซเลท/ตัวอย่างดิน และเลือก 5 สายพันธุ์ จากกลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน นำมาศึกษาสมบัติบางประการ เช่น ลักษณะโคโลนี ความต้านทานต่อสารปฏิชีวนะ 7 ชนิด ประสิทธิภาพการเข้าสร้างปม และการตรึงไนโตรเจนร่วมกับถั่วเหลืองพันธุ์ CM60 เลือก 5 ไอโซเลท หรือสายพันธุ์ที่ดีที่สุดเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการตรึงไนโตรเจนร่วมกับถั่วเหลืองที่ปลูกในดินในสภาพเรือนทดลอง และการให้ผลผลิตในแปลงเกษตรกร ตลอดจนศึกษาการรอดชีวิตของไรโซเบียมถั่วเหลืองในวัสดุรองรับชนิดต่างๆ ผลการทดลองพบว่า ไรโซเบียมที่แยกได้จากดินโคโลนี 2 ลักษณะ มีรูปแบบความต้านทานต่อสารปกิชีวนะ 7 ชนิด (Antibiotic-Resistance Markers; ARM) แตกต่างกันโดยไรโซเบียมไอโซเลท สท.1 ชม. 5 DASA01023 DASA01029 และ DASA01034 มีความสามารถในการเข้าสร้างปมและตรึงไนโตรเจนได้สูงในดินปลูกที่มีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน เมื่อนำไรโซเบียมเหล่านั้นมาผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพเชื้อผสมเพื่อใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยหมักอัตรา 1,500 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีอัตรา 0-7.6-7.6 กก. N-P2O5-K2O ต่อไร่ ในการปลูกถั่วเหลืองพันธุ์ CM60 ในแปลงเกษตรกรพบว่า ให้ผลผลิตเมล็ดน้ำหนัก 100 เมล็ด จำนวนฝักต่อต้น น้ำหนักเมล็ด/ต้นสูงสุด คือ 218.25 กิโลกรัมต่อไร่ 17.14 กรัม 29 ฝักต่อต้น และ 54 กรัมต่อต้น ตามลำดับ ไรโซเบียมถั่วเหลืองมีจำนวนรอดชีวิตเพิ่มขึ้น 10 ถึง 100 เท่า ภายหลังเก็บรักษา 2 สัปดาห์ แต่ลดลง 10 เท่าในวัสดุรองรับบางชนิดภายหลังการเก็บรักษา 12 สัปดาห์ การใช้ดินเหนียวร่วนนึ่งฆ่าเชื้อหรือตากแห้งเป็นวัสดุรองรับทำให้ไรโซเบียมมีการรอดชีวิตสูงที่ระดับ 10(7) โคโลนีต่อกรัม ตลอดการเก็บรักษา 12 สัปดาห์


ไฟล์แนบ
.pdf   1950_2553.pdf (ขนาด: 969.08 KB / ดาวน์โหลด: 829)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม