12-09-2015, 10:36 AM
วิจัยสูตรผลิตภัณฑ์สารสกัดหนอนตายหยากและว่านน้ำเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช
รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา, เสริม สีมา, สมบัติ แผนดี, อิสริยะ สืบพันธุ์ดี และอุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
รัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา, เสริม สีมา, สมบัติ แผนดี, อิสริยะ สืบพันธุ์ดี และอุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
หนอนตายหยาก (Stemona spp.) และว่านน้ำ เป็นพืชที่มีศักยภาพในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช ในรากหนอนตายหยากมีสารสำคัญพวกอัลคาลอยด์ (alkaloids) เก็บตัวอย่างรากหนอนตายหยากจากจังหวัดต่างๆ มาตรวจหาปริมาณอัลคาลอยด์ทั้งหมด (Total alkaloids) พบว่า มีปริมาณอยู่ระหว่าง 1.16 - 6.60% สกัดรากหนอนตายหยาก Stemona burkillii Prain และ Stemona phyllantha Gagnep ด้วยเอทานอล นำสารสกัดหยาบที่ได้มาสกัดแยกส่วนโดยใช้ hexane, dichloromethane และ ethyl acetate ตรวจ alkaloids ในส่วนที่แยก พบว่าอยู่ในส่วนของ dichloromethane ในส่วนของ hexane พบว่า มีกรดไขมันอิ่มตัว (C 16:0, C 18:0) และไม่อิ่มตัว (C 18:1, C 18:2, C 18:3) รวมทั้ง 4-methoxy benzoic acid, methyl ester ส่วนของ dichloromethane จาก S. burkillii Prain มี total alkaloids 20.01% S. phyllantha Gagnep มี Total alkaloids 8.09% non-alkaloid 27.40% ทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบกับหนอนใยผักวัยสอง พบว่าสารสกัดหยาบของ S. burkillii และ S. phyllantha เข้มข้น 1% ทำให้หนอนตาย 76.7 และ 36% ในเวลา 3 วัน และในส่วนของ dichloromethane เข้มข้น 1% ทำให้หนอนตาย 93.3 และ 53% ผลิตภัณฑ์จาก S. burkillii อัตรา 5 และ 10 มิลลิลิตรต่อเอทานอล 100 มิลลิลิตร ทำให้หนอนตาย 80 และ 100% ใน 3 วันสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเหง้าว่านน้ำด้วยวิธี hydrodistillation พบว่ามีน้ำมันหอมระเหย 1.35% ซึ่งมีปริมาณสารสำคัญ เบต้า อาซาโรน 85.10% สกัดเหง้าแห้งด้วยเมทานอลและเอทานอลได้สารสกัดหยาบ 31.78 และ 8.73% มีเบต้าอาซาโรน 8.43 และ 22.86% น้ำมันว่านน้ำ 1.0% และสารสกัดหยาบจากเอทานอล 2.5% ทำให้หนอนใยผักวัยสองตาย 100% ใน 48 ชั่วโมง