การได้รับรองห้องปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในลำไยสดส่งออกตามมาตรฐาน ISO
#1
การได้รับรองห้องปฏิบัติการด้านการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในลำไยสดส่งออกตามมาตรฐาน ISO 17025 : 2005 ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1
กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

          กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต (กพป.) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 (สวพ.1) ได้ดำเนินการพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารพิษตกค้างตามมาตรฐาน ISO 17025 : 2005 ในการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2553 โดยดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และความเข้าใจในข้อกำหนดของระบบคุณภาพ การเขียนเอกสารในระบบคุณภาพและเทคนิคเชิงวิชาการที่จำเป็น จัดเตรียมสถานที่ เครื่องมือ จัดหาครุภัณฑ์ จากนั้นดำเนินการจัดทำเอกสารในระบบคุณภาพ ได้แก่ คู่มือคุณภาพ ขั้นตอนการดำเนินงาน วิธีทดสอบ วิธีปฏิบัติงานสำหรับเครื่องมือและขั้นตอนที่มีรายละเอียดมาก และสร้างแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อบันทึกการปฏิบัติงาน ทดสอบความใช้ของวิธี การหาค่าความไม่แน่นอนในการวัด จัดให้การควบคุมคุณภาพการทดสอบโดยทดสอบความสามารถระหว่างห้องปฏิบัติการหรือทดสอบความชำนาญอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จัดการตรวจติดตามคุณภาพภายใน จัดประชุมเพื่อทบทวนการบริหารระบบคุณภาพ รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้อง และได้รวบรวมเอกสารทั้งหมดยื่นขอการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบต่อสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2552 ผ่านการประเมินและได้รับรอง เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ลำดับการรับรองที่ 1192/53 อายุการรับรอง 3 ปี ในขอบข่ายวิธีทดสอบการวิเคราะห์สารตกค้างในลำไยสดส่งออกในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส 5 ชนิด คือ diazinon, pirimiphos - methyl, malathion, chlorpyrifos และ ethion โดยใช้เครื่องมือ GC-FPD (Gas chromatography-flame photometric setection) การได้รับรองเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับงานบริหารของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาค และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในผลการทดสอบด้านสารพิษตกค้างในผลิตผลการเกษตรว่าได้ผ่านการรับรองตามมาตรฐาน ISO 17025 : 2005 ในปี 2553 ห้องปฏิบัติการ กพป. สวพ.1 ได้ออกใบรับรองให้ลูกค้าส่งออกจำนวน 127 ตัวอย่าง ในรายการที่ขอรับรองพบ chlorpyrifos มากที่สุด จำนวน 86 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 0.01-0.5 mg/kg รองลงมา ได้แก่ malathion จำนวน 5 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ ≥ 0.01 mg/kg etion จำนวน 1 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ > 0.01 mg/kg และ pirimiphos-methyl จำนวน 1 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบ 0.01 mg/kg ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1845_2553.pdf (ขนาด: 98.11 KB / ดาวน์โหลด: 447)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม