การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง กลุ่ม fungicide ในผักและผลไม้ โดยใช้ GC/MS
#1
การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง กลุ่ม fungicide ในผักและผลไม้ โดยใช้ Gas Chromatograph/Mass Spectrometry
พนิดา ไชยยันต์บูรณ์, จินตนา ภู่มงกุฎชัย, บุญทวีศักดิ์ บุญทวี และสุพัตรี หนูสังข์
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การพัฒนาเทคนิคการตรวจวิเคราะห์สารพิษตกค้าง กลุ่ม fungicide 15 ชนิด ได้แก่ caboxin, dicloran, edifenphos, etridiazole, flutolanil, fomozadon, hexaconazole, iprobenfos, iprodione, myclobutanil, oxadixyl, pyrazophos, tricyclazole, trifloxystrobin และ triflumizole ในหน่อไม่ฝรั่ง โดยใช้ Gas Chromatograph/Mass Spectrometry, Large Volumn Injection และใช้ mode SIM โดยทดสอบวิธีวิเคราะห์ 2 วิธี คือ วิธีการที่ 1 ใช้วิธีการสกัดที่ปรับจากวิธีการของ Steinwandter (1985) สกัดตัวอย่างด้วย acetone และ dichloromethane โดยใช้เครื่อง homogenizer ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง 2 ส่วน คือ ตัวอย่างที่ไม่มีการ clean up และมีการ clean up โดยวิธี dispersive SPE วิธีการ QuEChERS (Anastassiades, et al., 2003) โดยใช้ PSA และ GCB วิธีการที่ 2 วิธีการ QuEChERS (Lehotay, 2007) โดยสกัดตัวอย่างด้วย acetonitril โดยการเขย่าด้วยมือ และใช้เครื่อง centrifuge และ clean up โดยวิธี dispersive SPE โดยใช้ PSA ผลการทดสอบใช้การผ่านเกณฑ์ %recovery, %RSD และ matching ของ mass ของสารเพื่อยืนยันชนิดสารพบว่า วิธีการที่ 1 Steinwandter (1985) โดยมีการ clean up ตัวอย่าง ให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีกว่าวิธีการอื่น เนื่องจากตัวอย่างมีความสะอาด มีคลอโรฟิลด์น้อย และมีการลดปริมาตรตัวอย่างให้มีความเข้มข้นขึ้น ทำให้สามารถตรวจวิเคราะห์สารได้ 13 ชนิด วิธีการนี้ห้องปฏิบัติการกลุ่มงานสารพิษตกค้าง กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร ได้รับรองห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 ในปัจจุบัน จึงสามารถนำไปขยายขอบข่ายวิธีวิเคราะห์ได้ วิธีการที่ให้ผลการวิเคราะห์ที่ดีรองลงมา ได้แก่ วิธีการที่ 2 QuEChERS (Lehotay, 2007) วิธีการนี้สามารถให้ผลการตรวจวิเคราะห์ที่ดีที่มีความเข้มข้นที่ 0.05 mg/kg ขึ้นไป (ที่ 0.05 mg/kg ตรวจวิเคราะห์สารได้ 7 ชนิด) และที่ความเข้มข้น 1 mg/kg ตรวจวิเคราะห์สารได้ทั้ง 15 ชนิด แต่ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์สารปริมาณที่ต่ำได้ดี โดยที่ระดับ 0.01 mg/kg สามารถตรวจวิเคราะห์สารได้เพียง 2 ชนิด วิธีการนี้เป็นวิธีที่น่าสนใจ เพราะง่าย ใช้สารเคมีและเครื่องมือน้อย ตัวอย่างสะอาด แต่ต้องมีการปรับวิธีโดยลดปริมาตรของสารละลายตัวอย่างให้เข้มข้นขึ้นจึงสามารถตรวจวิเคราะห์สาในตัวอย่างที่ระดับต่ำได้ ส่วนวิธีการสกัดวิธีการที่ 1 โดยไม่มีการ clean up ตัวอย่าง เป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสมเนื่องจากตัวอย่างมีความสกปรกทำให้มีปัญหากับเครื่อง GC/MS และไม่สามารถตรวจวิเคราะห์สารปริมณที่ต่ำได้ดี โดยที่ระดับ 0.01 mg/kg ตรวจวิเคราะห์สารได้เพียง 3 ชนิด วิธีการนี้ให้ผลการตรวจวิเคราะห์ได้แก่ edifenphos และ iprodione ซึ่งมี response กับเครื่อง MS ต่ำ จึงต้องใช้เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ชนิดอื่นที่เหมาะสมกว่า


ไฟล์แนบ
.pdf   1909_2553.pdf (ขนาด: 1.48 MB / ดาวน์โหลด: 1,007)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 2 ผู้เยี่ยมชม