12-01-2015, 02:48 PM
การเฝ้าระวังราเขม่าดำ Urocystis cepulae Frost ในพื้นที่ปลูกหอมแดง
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
พรพิมล อธิปัญญาคม, สุณีรัตน์ สีมะเดื่อ และชนินทร ดวงสอาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
จากการสำรวจโรคราเขม่าดำของหอมแดง ในเขตภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เชียงใหม่ ลำพูน ช่วงจากการสำรวจโรคราเขม่าดำ (Urocystis cepulae) ของหอมแดงในแหล่งปลูกภาคกลางภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ลำพูน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ช่วงเดือนมกราคม 2554 ถึงเดือนมิถุนายน 2555 ว่ามีราเขม่าดำปรากฏ/ไม่ปรากฏ โดยทำการสำรวจทั้งหมดจำนวน 127 แปลง พบว่าไม่ปรากฏโรคราเขม่าดำในทุกแปลงที่ทำการสำรวจแต่พบการระบาดของโรคแอนแทรคโนสและโรคหอมเลื้อยสาเหตุเกิดจากรา Colletotrichum gloeosporioides โรคหัวและรากเน่า สาเหตุเกิดจากรา Slerotium rolfsii โรครากปมสาเหตุเกิดจากไส้เดือนฝอย Meloidogyne incognita และ โรคราดำ (Black Mold) สาเหตุเกิดจาก Aspergillus niger