12-01-2015, 10:55 AM
การคัดเลือกแบคทีเรีย Pasteuria penetrans ที่มีศักยภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม Meloidogyne spp.
ไตรเดช ข่ายทอง, ธิติยา สารพัฒน์, มนตรี เอี่ยมวิมังสา และปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
ไตรเดช ข่ายทอง, ธิติยา สารพัฒน์, มนตรี เอี่ยมวิมังสา และปิยรัตน์ ธรรมกิจวัฒน์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
Pasteuria penetrans เป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่สามารถสร้างเอ็นโดสปอร์ และเป็น obligate parasite ของไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) P. penetrans มีศักยภาพในการนำไปผลิตเป็นชีวภัณฑ์เพื่อใช้ควบคุมไส้เดือนฝอยรากปม การเป็น obligate parasite ทำให้ P. penetrans ต้องเจริญเติบโตในไส้เดือนฝอยอาศัยเพื่อครบวงชีวิต ซึ่งเป็นอุปสรรคในการผลิตสปอร์ให้ได้จำนวนมาก ทำให้แบคทีเรียชนิดนี้ไม่ได้รับความสนใจมากนัก ต่อมามีรายงานการผลิต Pasteuria เชิงพาณิชย์โดยการเลี้ยงบนอาหารเทียมได้สำเร็จ ทำให้ P. penetrans ได้รับความสนใจอีกครั้ง P. penetrans มีความจำเพาะเจาะจงกับชนิดของไส้เดือนฝอยรากปม ดังนั้นการรวบรวมและคัดเลือก P. penetrans สายพันธุ์ที่เป็นของไทย เพื่อใช้ควบคุมประชากรไส้เดือนฝอยรากปมในประเทศไทย อาจได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าสายพันธุ์จากต่างประเทศ ซึ่งควรทำก่อนที่จะมีการนำ P. penetrans สายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาใช้ เพราะจะทำให้การหาแบคทีเรียสายพันธุ์ไทยทำได้ยาก งานวิจัยนี้ได้รวบรวม P. penetrans โดยการบดตัวเต็มวัยเพศเมียของไส้เดือนฝอยรากปมที่แยกได้จากหัวมันฝรั่ง (Solanum tuberosum cv. Atlantic) และมันขี้หนู (Coleus parvifolius) และแยกจากผงรากที่ได้จากการบดรากพริก (Capsicum annuum) ที่เป็นโรครากปม นำไปปั่นเหวี่ยงในน้ำกลั่นแล้วนำของเหลวส่วนบนมาตรวจหาสปอร์ของ P. penetrans โดยใช้ตัวอ่อนระยะที่สองของไส้เดือนฝอยรากปมเป็นเหยื่อล่อ พบ P. penetrans ในตัวอย่างจากมันฝรั่ง มันขี้หนู และรากพริกเท่ากับ 33.3 83.8 และ 5.3 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ