ศึกษาความเป็นพิษของมะกล่ำตาหนูและกากเมล็ดชาเพื่อใช้เป็นสารกำจัดหนู
#1
ศึกษาความเป็นพิษของมะกล่ำตาหนูและกากเมล็ดชาเพื่อใช้เป็นสารกำจัดหนู
กรแก้ว เสือสะอาด, ปราสาททอง พรหมเกิด, ดาราพร รินทะรักษ์, ทรงทัพ แก้วตา และรัตนาภรณ์ พรหมศรัทธา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

การทดสอบความเป็นพิษของมะกล่ำตาหนูผง และสารสกัดกากเมล็ดชา (27.899% ซาโปนิน) อัตราต่างๆ กับหนูพุกใหญ่ และหนูท้องขาวบ้าน ตามวิธีการของ ASTM(1977) และ EPPO(1975) โดยให้สารละลายของมะกล่ำตาหนูผงและสารสกัดกากเมล็ดชาทางปากอัตราต่างๆ กับหนูกลุ่มละ 10 ตัว บันทึกอาการและการตายของหนูภายใน 21 วัน วิเคราะห์หาค่าความเป็ นพิษของมะกล่ำตาหนูและสารสกัดกากเมล็ดชาตามวิธีการของ Finney,1971 ผลปรากฏว่า ค่าความเป็นพิษเฉียบพลันทางปาก (Acute Oral LD50) ของมะกล่ำตาหนูที่มีต่อหนูพุกใหญ่ 201.83 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และหนูท้องขาวบ้าน 733.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และค่าความเป นพิษเฉียบพลันทางปากของสารสกัดกากเมล็ดชาที่มีต่อหนูพุกใหญ่ 114.9 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และหนูท้องขาวบ้าน 389.60 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพเหยื่อกากเมล็ดชากับหนูทองขาวบ้าน โดยวางแผนการทดลองแบบ CRD โดยสุ่มให้เหยื่อกากเมล็ดชา อัตรา 4 และ 8 % เป็ นเวลา 2 วัน กับหนูท้องขาวบ้านอัตราละ 10 ตัว ผลปรากฏว่าหนูกินเหยื่อกากเมล็ดชาเฉลี่ย 3.77 กรัม/กิโลกรัม ไม่มีผลทำให้หนูตายและเหยื่อกากเมล็ดชาอัตรา 8% ทำให้หนูตาย 10% ภายใน 5 วัน เมื่อได้รับสารพิษ 2 วัน เฉลี่ย 17.03 กรัม/กิโลกรัม


ไฟล์แนบ
.pdf   2099_2554.pdf (ขนาด: 269.06 KB / ดาวน์โหลด: 746)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม