พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดและหาค่าคงที่
#1
พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดและหาค่าคงที่เพื่อประเมินความเค็มของน้ำทางการเกษตร
จิตติรัตน์ ชูชาติ, สงกรานต์ มะลิสอน, พจมาลย์ ภู่สาร, ญาณธิชา จิตต์สะอาด, สุภา โพธิจันทร์ และกัณฐณา คล้ายแก้ว
กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

          การพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีพัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด โดยมีขอบข่ายของวิธีวิเคราะห์อยู่ในช่วง 30 – 7,230 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้ผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์การยอมรับ โดยมีค่า Limit of Detection (LOD) เท่ากับ 16.45 มิลลิกรัมต่อลิตร และ Limit of Quantitation (LOQ) เท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำการวิเคราะห์ CRM ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ กลาง และสูง มาคำนวณ %Recovery เพื่อความถูกต้อง (Trueness) และค่า HorRat ® เพื่อพิสูจน์ความเที่ยง ได้ผลการทดลองดังนี้ ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ กลาง และระดับความเข้มข้นสูง มี %Recovery เท่ากับ 98.48, 95.48 และ 99.51 ตามลำดับ ค่า HorRat (Horwitz’ Ratio) ของการวิเคราะห์ซ้ำแบบต่างเวลากัน (Intermediate) เท่ากับ 0.27, 0.42 และ 0.36 ตามลำดับ ตามลำดับ ผ่านเกณฑ์การยอมรับตาม AOAC ทั้งหมด โดย %Recovery อยู่ในช่วง 80 – 110 และ HorRat ® <1.3 ดังนั้นวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดในน้ำ จึงมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการตรวจ ที่ทำเป็นงานประจำและต้องการผลการวิเคราะห์
ที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ

          นำวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolve Solid; TDS) มาใช้ในการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำทางการเกษตร จำนวน 344 ตัวอย่าง พร้อมทั้งวิเคราะห์ pH, EC, TDS, Ca, Mg, Na, K, CO32-, HCO3-,Cl- และ SO42- พบว่า ตัวอย่างน้ำทางการเกษตร มีค่าความเป็นกรด – ด่าง (pH) มีค่าตั้งแต่ 3.9 – 8.4 ค่าการนำไฟฟ้า (EC) มีค่าตั้งแต่ 30 – 30,900 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด (TDS) มีค่าตั้งแต่ 13-21,758 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแคลเซียม (Ca) มีค่าตั้งแต่ 0.05 – 17.77 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ปริมาณแมกนีเซียม (Mg) มีค่าตั้งแต่ 0.03 – 66.88 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ปริมาณโซเดียม (Na) มีค่าตั้งแต่ ไม่พบ – 256.55 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ปริมาณโพแทสเซียม (K) มีค่าตั้งแต่ 0.01 – 8.29 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ปริมาณคาร์บอเนต (CO32-) มีค่าตั้งแต่ ไม่พบ – 6.00 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ปริมาณไบคาร์บอเนต (HCO3-) มีค่าตั้งแต่ ไม่พบ – 7.70 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ปริมาณคลอไรด์ (Cl-) มีค่าตั้งแต่ ไม่พบ – 306.60 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร และมีปริมาณเกลือซัลเฟต (SO42-) มีค่าตั้งแต่ ไม่พบ – 34.47 มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร ตามลำดับ หาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำกับค่าการนำไฟฟ้า และประมาณค่าคงที่ K หรือค่า Ratio TDS/EC (K) ของน้ำทางการเกษตร คือ 0.60 (R2 = 0.99) หรือสามารถเขียนเป็นสมการได้ เท่ากับ TDS = 0.60 x EC และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดตัวอย่างน้ำทางการเกษตรของประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับค่าการนำไฟฟ้า และเกลือที่ละลายน้ำได้ในรูปของ Na+, K+ Mg2+, Cl-, และ SO42- ซึ่งทำให้สามารถคำนวณ ค่าคงที่ Ratio TDS/EC (K) = 0.60 (R2 = 0.99) ซึ่งเป็นค่าคงที่ของน้ำธรรมชาติทั่วไป น้ำชลประทาน และน้ำที่ได้รับผลกระทบเล็กน้อยจากน้ำทะเล มาใช้ในทางการเกษตร

คำสำคัญ: การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธี ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมด และหาค่าคงที่ประเมินความเค็ม


ไฟล์แนบ
. พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดและหาค่าคงที่เพื่อประเมินความเค็มของน้ำทางกา   69. พัฒนาและตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำทั้งหมดและหาค่าคงที่เพื่อประเมินความเค็มของน้ำทางกา (ขนาด: 328.14 KB / ดาวน์โหลด: 0)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 3 ผู้เยี่ยมชม