11-18-2015, 02:09 PM
การทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมู; (Cyperus rotundus Linn.)
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และนงลักษณ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
คมสัน นครศรี, ภัทร์พิชชา รุจิระพงศ์ชัย, จรัญญา ปิ่นสุภา และนงลักษณ์ ปั้นลาย
กลุ่มวิจัยวัชพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
การศึกษาประสิทธิภาพสารกาจัดวัชพืชทั้งประเภทใช้ก่อน และหลังวัชพืชเพื่อควบคุมแห้วหมู วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 4 ซ้ำ จำนวน มี 9 กรรมวิธี ประกอบด้วยการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนวัชพืชงอก ได้แก่ สาร alachlor, acetochlor, s-metolachlor และ dimethenamid อัตรา (480, 640), (480, 640), (400, 600) และ (126, 324) กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ และกรรมวิธีไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช และการใช้สารกำจัดวัชพืชประเภทหลังวัชพืชงอกมี 12 กรรมวิธี ได้แก่ 2,4-D, bensulfuron methyl, metsulfuron methyl, pyrazosulfuron ethyl, bensulfuron methyl + chloromuron ethyl, glyphosate, glufosinate ammonium, MSMA, aminocyclopyrachlor, imazaquin และ sulfenthazone อัตรา 240, 4, 5, 5, 5, 4, 360, 120, 120, 30, 48 และ 118 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ และวิธีไม่ใช้สารกำจัดวัชพืช ทำการทดลองระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2554 ที่กลุ่มวิจัยวัชพืช ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรลพบุรี จังหวัดลพบุรี จากผลการทดลองพบว่า ประสิทธิภาพการควบคุมแห้วหมูของสารกำจัดวัชพืชประเภทใช้ก่อนวัชพืชงอกที่ 15, 30 และ 45 วันหลังพ่นสารพบว่า สาร dimethenamid, s-dimethenamid, s-dimethenamid, s-dimethenamid, s-metolachlor, alachlor metolachlor, alachlor metolachlor, alachlor metolachlor, alachlor metolachlor, alachlormetolachlor, alachlormetolachlor, alachlor metolachlor, alachlor metolachlor, alachlor อัตรา 324, 600, 600, 600, 600 และ 640 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ให้ผลในการควบคุมแห้วหมูได้ดีที่สุด ประสิทธิภาพการพ่นสารกำจัดวัชพืชที่ 15, 30 และ 45 วันหลังพ่นสาร สารกาจัดวัชพืชประเภทหลังงอกพบว่า การพ่นสาร glyphosate, glufosinate ammonium และ MSMA มีประสิทธิภาพในการควบคุมแห้วหมูได้ดี และยาวนานเวลาถึง 45, 35 และ 30 หลังพ่นสาร ตามลำดับ ต้นแห้วหมูจึงเริ่มมีการฟื้นตัวและต้นงอกใหม่และพบว่า การพ่นสาร glyphosate ทาให้แห้วหมูตายสนิท ต้นงอกใหม่มีขนาดเล็ก ในขณะที่การพ่นสาร glufosinate ammonium มีผลทำให้ต้นแห้วหมูตายเร็ว แต่ต้นใหม่งอกเร็วกว่าการใช้สาร glyphosate และมีขนาดปกติ สำหรับจำนวนต้น และจำนวนหัวแห้วหมู ในกรรมวิธีการพ่นสาร glyphosate glufosinate ammonium และสาร 2,4-D ลดลง แตกต่างทางสถิติกับกรรมวิธีการไม่กำจัดวัชพืช